ค้นเจอ 11 รายการ

ได้ชื่อ

หมายถึงก. ขึ้นชื่อ, มีชื่อเสียง.

ได้หน้า

หมายถึงว. ได้เกียรติ, ได้ชื่อเสียง, ได้หน้าได้ตา ก็ว่า.

เอาชื่อ

หมายถึงว. มุ่งให้ได้ชื่อเสียง เช่น ทำงานเอาชื่อ.

คัทลียา

หมายถึงน. ชื่อกล้วยไม้หลายชนิดในสกุล Cattleya วงศ์ Orchidaceae ดอกงดงามมาก จนได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งกล้วยไม้”.

เวทานต์,เวทานตะ

หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์หนึ่งที่ถือว่าอาตมันเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกอย่าง คัมภีร์นี้อ้างคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นหลัก ซึ่งคัมภีร์เหล่านั้นอยู่ในระยะสุดท้ายของคัมภีร์พระเวท จึงได้ชื่อว่า เวทานต์ คือ ที่สุดแห่งคัมภีร์พระเวท; ชื่อปรัชญาอินเดียฝ่ายพระเวท. (ส.).

กุ้งดีด,กุ้งดีดขัน

หมายถึงน. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Alpheus ในวงศ์ Alpheidae มีก้ามใหญ่ ๒ ข้าง โดยมีก้ามข้างหนึ่งโตกว่า สามารถงับก้ามทำให้เกิดเสียงดังโดยเฉพาะเมื่อกระทบขันเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า กุ้งดีดขัน พบอาศัยหลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในนํ้าเค็มและนํ้ากร่อย ยกเว้นชนิด Alpheus microrhynchus ที่พบอยู่ในนํ้าจืดด้วย, กระเตาะ ก็เรียก.

พรหม,พรหม-

หมายถึง[พฺรม, พฺรมมะ-] น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลก จำพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จำพวกไม่มีรูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้น ตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอนใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี; ผู้มีพรหมวิหารทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหมของบุตร). (ป., ส. พฺรหฺม).

สัดส่วน

หมายถึงน. ส่วนผสมของสิ่งต่าง ๆ ตามอัตราที่กำหนด เช่น ในการผสมปูนโบกฝาผนังจะใช้ซีเมนต์ ทราย และปูนขาว ตามสัดส่วน ๓ : ๒ : ๑; (คณิต) การเท่ากันของ ๒ อัตราส่วน หมายความว่า อัตราส่วนของปริมาณที่ ๑ ต่อปริมาณที่ ๒ เท่ากับอัตราส่วนของปริมาณที่ ๓ ต่อปริมาณที่ ๔ เช่น ๑ กิโลกรัม, ๒ กิโลกรัม; ๑๐๐ บาท, ๒๐๐ บาท ได้ชื่อว่าเป็นสัดส่วนกันก็เพราะ ๑ กิโลกรัม : ๒ กิโลกรัม = ๑๐๐ บาท : ๒๐๐ บาท. (อ. proportion).

ผมนาง

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลชนิด Alectis ciliaris, A. indica และ Carangoides armatus ในวงศ์ Carangidae ลำตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก คอดหางเล็ก เกล็ดละเอียด เว้นแต่ที่ส่วนท้ายของเส้นข้างตัว โดยเฉพาะบริเวณคอดหางเกล็ดจะขยายใหญ่เป็นสันแข็ง มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน โผล่อยู่หน้าครีบก้น ที่สำคัญคือ ต่างก็มีก้านครีบหลังตอนที่ ๒ และครีบก้นที่เป็นเส้นยาวมาก ลำตัวสีเงิน เฉพาะใกล้สันหลังเป็นสีฟ้าอมเทา ในระยะที่เป็นปลาขนาดเล็กจะมีลายพาดขวางเป็นบั้งสีเทาอยู่หลายแถบ เส้นครีบที่เป็นลายยาวมีสีคลํ้าหรือดำ จึงได้ชื่อว่า ผมนาง เฉพาะชนิด A. indica มีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.

กฐิน-

หมายถึง[กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).

กฐิน

หมายถึง[กะถิน] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ