ตัวกรองผลการค้นหา
ค่อย,ค่อย,ค่อย ๆ,ค่อย ๆ
หมายถึงว. ใช้ประกอบหลังนามหรือกริยา หมายความว่า ไม่ดัง, เบา, เช่น เสียงค่อย พูดค่อยเดินค่อย ๆ อย่าลงส้น; ไม่แรง, เบามือ, เช่น นวดค่อย ๆ จับค่อย ๆ.
รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม หมายถึงอะไร พร้อมตัวอย่างการใช้งาน
คำศัพท์ในละครเรื่องบุพเพสันนิวาสที่คนมักเขียนผิด
ค่อย
หมายถึงว. คำนำหน้าความข้างท้ายให้ติดต่อกับความข้างหน้า แสดงกิริยาที่กระทำภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วค่อยไป, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ค่อย หมายความว่า น้อย, บ้าง, (ตามส่วนของสิ่งที่พูดถึง) เช่น ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยพูด, ไม่ใคร่ ก็ว่า.
หมายถึงว. ใช้นำหน้ากริยาหมายความว่า ไม่รีบร้อน, อย่างระมัดระวัง, ช้า ๆ, เช่น ค่อยคิดค่อยทำ ค่อย ๆ เดิน.
ให้แรง
หมายถึงก. ทำให้มีกำลังเพิ่มขึ้นเป็นต้น มักใช้กับสิ่งนอกเหนือธรรมชาติตามความเชื่อ เช่น ผีให้แรง เทวดาให้แรง.
แรง
หมายถึงน. กำลัง เช่น แรงคน ไม่มีแรง มีแรงมาก ออกแรง, อำนาจ เช่น แรงเจ้าที่ แรงกรรม. ว. ฉุน, จัด, กล้า, เช่น กลิ่นแรง; ใช้กำลังกระทำถึงขีด เช่น อย่าทำแรง ตีแรง ๆ, แข็ง, มีกำลัง; ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ที่นี่เจ้าที่แรง; อัตราการทำงาน กำหนดเป็นกำลังคนต่อช่วงเวลาหนึ่ง เช่น งานนี้ต้องใช้ ๑๐ แรง. ก. ออกแรง; หมกมุ่น เช่น แรงเสพ แรงเล่น.
หมายถึง(วิทยา) น. อิทธิพลภายนอกใด ๆ ที่เปลี่ยนแปลงหรือพยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะอยู่นิ่งหรือสถานะการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง.
ละเลาะ
หมายถึงก. ค่อย ๆ ไป.
ลัดเนื้อ
หมายถึงว. ค่อยมีเนื้อมากขึ้น (ใช้แก่แผล), ค่อยอ้วนขึ้น.
ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม
หมายถึง(สำ) ว. ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ทำแล้วจะสำเร็จผล.
เริดรา
หมายถึงก. ค่อย ๆ เลิกกันไป.
กระซิก
หมายถึงก. ค่อยเบียดเข้าไป.
เฉียว
หมายถึงว. แรง, จัด.