ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา แปลง, แผลง, ศร, เส้นแผลง, บ้า ๆ, หน้าพาทย์แผลง, หุ้มแผลง, ผาดแผลง
แผลงศร
หมายถึงก. ยิงลูกธนูออกไปด้วยแรงแห่งฤทธิ์.
แปลง
หมายถึง[แปฺลง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. แผลง เช่น แปลงศร ว่า แผลงศร.
ศร
หมายถึง[สอน] น. อาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันสำหรับยิง เรียกว่า คันศร กับลูกที่มีปลายแหลม เรียกว่า ลูกศร, เรียกสายคันศรว่า สายศร, เรียกอาการที่ยิงลูกศรออกไปว่า แผลงศร หรือ ยิงศร; (โบ) ปืน. (ส.).
ประลัยวาต
หมายถึงน. ชื่อศรที่แผลงให้เกิดลม.
แผลง
หมายถึง[แผฺลง] ก. แปลงสิ่งเดิมให้เพี้ยนแปลกไป เช่น แผลงสระ แผลงพยัญชนะ. ว. ที่แตกต่างไปจากปรกติ เช่น เล่นแผลง คำแผลง.
มิศร,มิศร-,มิศรก,มิศรก-
หมายถึง[มิดสะระ-, มิดสะระกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ; ประสมขึ้น. (ส.; ป. มิสฺส, มิสฺสก).
ลูกศร
หมายถึงน. เครื่องหมายที่ใช้ชี้บอกทางเป็นต้น มีลักษณะคล้ายส่วนปลายของลูกศร รูปดังนี้ ; ลูกธนู, ลักษณนามว่า ดอก.
ย้อนศร
หมายถึงก. ไปทวนเครื่องหมายลูกศร เช่น ขับรถย้อนศร.
สร
หมายถึง[สอน] น. ศร. (ป.; ส. ศร).
หน้าพาทย์แผลง
หมายถึง[-แผฺลง] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่บอกแผลงไปจากชื่อเดิม ทำให้ผู้บรรเลงปี่พาทย์ต้องใช้ความคิดว่าจะบรรเลงเพลงใด เช่น เพลงนางพญาดำเนิน หมายถึง เพลงช้า เพลงแม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง เพลงเร็ว เพลงไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ.
ศรศิลป์ไม่กินกัน
หมายถึง(กลอน) ก. ทำอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศรศิลป์ไม่กินกัน. (รามเกียรติ์ ร. ๖); (สำ) ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.
สำนึง
หมายถึงก. อยู่. (แผลงมาจาก สึง).