ค้นเจอ 59 รายการ

แบบแผน

หมายถึงน. ขนบธรรมเนียมที่กำหนดใช้หรือที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา.

มาตรฐาน

หมายถึง[มาดตฺระ-] น. สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช, สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ยังไม่เข้ามาตรฐาน.

ภาษาแบบแผน

หมายถึงน. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะ...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก.

เข้ารูปเข้ารอย

หมายถึงก. ถูกกับแบบแผน.

ภาษาระดับพิธีการ

หมายถึงน. ภาษาแบบแผน.

ธรรมเนียม

หมายถึง[ทำ-] น. ประเพณี, แบบแผน, แบบอย่าง.

ขนบประเพณี

หมายถึงน. จารีตประเพณีที่วางเป็นระเบียบแบบแผนไว้แล้ว.

เข้าแบบ,เข้าแบบเข้าแผน

หมายถึงก. ถูกต้องตามแบบแผน, เป็นไปตามแบบ, เช่น ตัวละครเข้าแบบ.

เข้าตำรา

หมายถึงก. ถูกแบบแผน, ตรงตามแบบอย่างที่เคยมีมา, ถูกกับเรื่องราวที่เคยเล่ากันมา.

กระบวนความ

หมายถึงน. แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ.

ต้นตำรับ

หมายถึงน. ผู้เป็นต้นคิดในการประดิษฐ์หรือสร้างแบบแผนขึ้น.

ตันติภาษา

หมายถึงน. ภาษาที่มีแบบแผน. (ส.; ป. ตนฺติภาสา).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ