ค้นเจอ 11 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา มัมมี่, รัมมี่

แซม

หมายถึงก. แทรกขึ้นมาในระหว่าง เช่น ฟันแซม ขนแซม, เสียบเข้าไปในระหว่าง เช่น เด็ดดอกไม้แซมผม, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหน็บแทรกหรือสอดเข้าไปเพื่อแทนสิ่งที่ชำรุดให้ดีขึ้น เช่น แซมกระบุง แซมหลังคา. น. เรียกม้าที่มีขนสีอื่นแทรกขึ้นมาในระหว่างขนที่เป็นพื้นว่า ม้าแซม.

มี่

หมายถึงว. อึกทึก, เสียงแซ่.

มะมี่

หมายถึง(กลอน) ก. มี่, อึงมี่, เอิกเกริก, แซ่, อึกทึก.

ข้าวป่า

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Oryza วงศ์ Gramineae เช่น ข้าวละมาน (O. minuta J. Presl) มักขึ้นแซมต้นข้าว.

ข้าวละมาน

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Oryza minuta J. Presl ในวงศ์ Gramineae เป็นข้าวป่าชนิดหนึ่ง มักขึ้นแซมต้นข้าว.

เลา

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Saccharum spontaneum L. ในวงศ์ Gramineae ดอกสีขาวเงิน เป็นมัน, พง หรือ อ้อยเลา ก็เรียก; เรียกผมที่หงอกขาวและมีสีดำแซมอยู่บ้างว่า ผมสีดอกเลา.

เลียงผา

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Capricornis sumatraensis ในวงศ์ Bovidae รูปร่างคล้ายแพะ ขนสีดำ บางตัวมีสีขาวแซม ขายาวและแข็งแรง มีต่อมนํ้ามันตรงส่วนหน้าของตาทั้ง ๒ ข้าง มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย พบอยู่ตามภูเขาหรือหน้าผาสูง ๆ, กูรำ โครำ เยือง หรือ เยียงผา ก็เรียก.

แนม

หมายถึงก. แกม เช่น ดอกแนมใบ, แนบ, ชิด, เช่น ผลผกาเกิดกับกิ่งก้านระกุแกมแนมใบวิบูลระบัดบัง. (ม. ร่ายยาว มหาพน), โกมลไม่แย้มยังแนมใบ. (อิเหนา); แทรกแซมหรือแซงเข้าไป เช่น เอาลิ่มแนมให้แน่น, เรือตะเข้แนมทังสองข้าง. (สามดวง); แทรกเพิ่มเติม, ควบคู่กันไป, เช่น นํ้าพริกมีปลาดุกแนม; เสียดสี ในคำว่า เหน็บแนม.

เก้ง

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Cervidae ตัวเล็ก ขนสีนํ้าตาลจนถึงนํ้าตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด ที่รู้จักกันทั่วไปคือ อีเก้ง หรือ ฟาน (Muntiacus muntjak) อีกชนิดหนึ่งคือ เก้งหม้อ หรือ เก้งดำ (M. feae) ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีนํ้าตาลแก่เกือบดำ ที่หัวมีขนลักษณะคล้ายจุกสีเหลืองแซมดำ, ปักษ์ใต้เรียก กวางจุก.

ขุนทอง

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเอี้ยงและนกกิ้งโครง ขนดำเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม และมีติ่งหรือเหนียงสีเหลืองติดอยู่ทางหางตาทั้ง ๒ ข้าง ปากสีแสด ขาและตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (Gracula religiosa intermedia) และ ขุนทองใต้ หรือ ขุนทองควาย (G. r. religiosa) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก, พายัพเรียก เอี้ยงคำ.

กว่าง

หมายถึง[กฺว่าง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Xylotrupes gideon ในวงศ์ Dynastidae ตัวมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ กว่างชน มีเขาที่หลังอกยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิ หรือ กว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่ หรือ กว่างอีลุ่ม, อาจเรียกแมลงปีกแข็งชนิดอื่นที่มีเขาว่า แมงกว่าง หรือ แมงกวาง เช่นกัน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ