ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เพรียว, เปรียว, โครส, ราง, บาเรียน, ประโยค, เปรียญ, สังกาศ, ลินสีด, เหยียบ, เหลียน
เหรียญ
หมายถึงน. โลหะที่มีลักษณะกลมแบนหรือรูปเหลี่ยมเป็นต้น มีภาพนูนหรือตัวอักษรอยู่บนพื้น เช่น เหรียญกระษาปณ์ เหรียญความดีความชอบ เหรียญที่ระลึก.
ราง
หมายถึงน. ร่องที่ขุดเป็นทางสำหรับให้น้ำไหล; สิ่งสำหรับรองน้ำฝนที่ชายคาเป็นต้น มักทำด้วยสังกะสียาวเป็นแนวไปตามชายคา; ไม้ที่ขุดหรือต่อให้เป็นร่องยาว ๆ หรือปล้องไม้ไผ่ผ่าซีก มีด้านสกัดหัวท้าย สำหรับใส่อาหารหมูหรือย้อมผ้าเป็นต้น; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รางระนาด; เหล็กที่ใช้เป็นทางเดินของล้อเลื่อน เช่น รางรถไฟ; ไม้เจาะเป็นร่องยาวสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันได้ ๘๐ เหรียญ หรือ ๑ ชั่ง, ปัจจุบันเป็นแผ่นไม้เจาะเป็นร่องสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันเป็นแถว ๆ แผ่นหนึ่งมี ๑๐ แถว แถวหนึ่งใส่เหรียญบาทได้ ๑๐ เหรียญ รวมเป็น ๑๐๐ บาท; ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นราง เช่น ลูกคิดรางหนึ่ง ระนาด ๒ ราง รางรถไฟ ๓ ราง.
อิสริยาภรณ์
หมายถึงน. ตราเครื่องประดับเกียรติยศ เรียกเป็นสามัญว่า เหรียญตรา.
โปรยทาน
หมายถึงก. ให้ทานโดยวิธีหว่านหรือโปรยสตางค์หรือเหรียญ, ทิ้งทาน ก็ว่า.
ทิ้งทาน
หมายถึงก. ให้ทานโดยวิธีหว่านหรือโปรยสตางค์หรือเหรียญ, โปรยทาน ก็ว่า.
ทองแป
หมายถึง(โบ) น. ชื่อเหรียญทองตราโบราณที่ใช้แลกเปลี่ยนกันได้อย่างเงินตรา.
ทวีธาภิเษก
หมายถึงน. ชื่อพระราชพิธีการสมโภชที่รัชกาลที่ ๕ ได้ครองราชสมบัติยืนนานมาเป็น ๒ เท่าของรัชกาลที่ ๔, เรียกเหรียญที่จัดทำขึ้นเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีนี้ว่า เหรียญทวีธาภิเษก.
ดุษฎีมาลา
หมายถึงน. ชื่อเหรียญที่พระราชทานเฉพาะแก่ผู้ได้ใช้ศิลปวิทยาให้เป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองถึงขนาด ทั้งอาจได้รับพระราชทานเงินพิเศษประจำเดือนไปตลอดชีวิต เดิมกำหนดให้มีเข็มพระราชทานประกอบกับเหรียญรวม ๕ ชนิด คือ เข็มราชการในพระองค์ เข็มราชการแผ่นดิน เข็มศิลปวิทยา เข็มความกรุณา และเข็มกล้าหาญ ต่อมาคงเหลือแต่เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เพียงอย่างเดียว.
หน้าอัด
หมายถึงน. หน้าตรง, หน้าเต็ม, หน้าตรงแบน, (ใช้แก่รูปวาด รูปถ่าย หรือเหรียญ).
ทองพิศ
หมายถึงน. ค่ากำหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๒๐ ของชั่ง = ๔ บาท.
ทองพัดดึงส์
หมายถึงน. ค่ากำหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๓๒ ของชั่ง = ๒.๕๐ บาท.
ทองทศ
หมายถึงน. ค่ากำหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท.