ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ทาม, เคาะ, ปฏิภาค,ปฏิภาค-, เทียบเคียง, ประพันธ์, รจิต, เรียบเรียง, ประพนธ์
ทาม
หมายถึงก. ดาม; ลองดู, เลียบเคียง.
เลียบเคียง,เลียบ ๆ เคียง ๆ
หมายถึงก. หาทางใช้คำพูดหรือแสดงอาการกรายเข้าไปใกล้ ๆ เพื่อหยั่งเชิงเขาดู เช่น เลียบ ๆ เคียง ๆ เพื่อจะขอยืมเงิน.
เคาะ
หมายถึงก. ใช้อวัยวะมีมือเป็นต้นกระทบเบา ๆ เช่น เคาะจังหวะ เคาะบุหรี่, ใช้มือหรือวัตถุงอ ๆ ตีหรือทุบให้เกิดเสียงเป็นต้น เช่น เคาะประตู เคาะระฆัง เคาะตัวถังรถ; พูดเย้าแหย่. ว. เลียบเคียง เช่น พูดเคาะ.
เมียง
หมายถึงก. เลียบเคียงเข้าไป, ชายตาดู.
แพะโลม
หมายถึงก. พูดเกี้ยว, พูดเลียบเคียงทางชู้สาว, แพละโลม หรือ แทะโลม ก็ว่า.
แพละโลม
หมายถึง[แพฺละ-] ก. พูดเกี้ยว, พูดเลียบเคียงทางชู้สาว, แพะโลม หรือ แทะโลม ก็ว่า.
แทะโลม
หมายถึงก. พูดเกี้ยว, พูดเลียบเคียงเกี้ยวพาราสี, แพละโลม หรือ แพะโลม ก็ใช้.
เต๊าะ
หมายถึง(ปาก) ก. พูดหรือแสดงอาการเลียบเคียงเพื่อให้สมปรารถนา.
กระแซะ
หมายถึงก. ขยับกระทบเข้าไป เช่น ขยับตัวกระแซะเข้าไป พูดเลียบเคียงกระแซะเข้าไป.
ชาย
หมายถึงก. พัดอ่อน ๆ เช่น ลมชาย; คล้อย, บ่าย, เช่น ตะวันชาย; เดินเลียบเคียงไป เช่น ชายไปดู.
เกราะ
หมายถึง[เกฺราะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑), ใช้ว่า เกลาะ ก็มี เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา).
เกลาะ
หมายถึง[เกฺลาะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา), ใช้ว่า เกราะ ก็มี เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).