ตัวกรองผลการค้นหา
เทคนิค
หมายถึงน. ศิลปะหรือกลวิธีเฉพาะวิชานั้น ๆ. (อ. technique).
เทคนิคจำศัพท์ - Negative Prefixes
เทคนิคจำศัพท์ - ตอนที่ 5 : Prefixes for amount
เทคนิคจำศัพท์ - ตอนที่ 3 : Prefixes of time
เทคนิคจำศัพท์ - ตอนที่ 2 : Number Prefixes
เทคโนโลยี
หมายถึงน. วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม. (อ. technology).
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
หมายถึงน. ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การพลังงาน การควบคุมรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม และการวิจัย.
วิทยาลัย
หมายถึงน. สถานศึกษาในระดับสูง สอนวิชาชีพเฉพาะอย่าง เช่น วิทยาลัยเทคนิค. (ส.).
ค
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น โรค มรรค มารค เทคนิค.
อิตเทรียม
หมายถึง[อิดเทฺรียม] น. ธาตุลำดับที่ ๓๙ สัญลักษณ์ Y เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเทาเข้ม หลอมละลายที่ ๑๕๐๐ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ในเทคโนโลยีนิวเคลียร์. (อ. yttrium).
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คดีอาญาและคดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และคดีแพ่งเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารการเงินระหว่างประเทศ หรือการให้บริการระหว่างประเทศ การขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัย และนิติกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในการออกแบบวงจร รวมการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทางการค้า ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดของสินค้า ความลับทางการค้าและการคุ้มครองพันธุ์พืช.
ศิลปศาสตร์
หมายถึงน. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทางอาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ ๑. สูติ วิชาฟังเสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชาเข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกา วิชากายบริหาร ๙. ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชาดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.