ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เครื่อง, เครื่องปรุง, พิภูษณะ, เครื่องสูง, ตะหลิว, วิภูษณะ, จามีกร, วิภูษา, วัญจนะ, เครื่องแบบ, เครื่องกล
เครื่องแกง
หมายถึงน. สิ่งที่ใช้ในการปรุงแกง มีพริก กะปิ หอม กระเทียม เป็นต้น.
เครื่องปรุง
หมายถึงน. สิ่งที่ใช้ในการปรุงอาหารเป็นต้น เช่น เนื้อสัตว์ ผัก เครื่องแกง กะทิ ผลไม้.
กะหรี่
หมายถึงน. แกงชนิดหนึ่ง สีเหลือง ปรุงด้วยเครื่องแกงกะหรี่; เรียกเครื่องแกงกะหรี่ซึ่งประกอบด้วยขมิ้นและเครื่องเทศอื่น ๆ บดเป็นผงว่า ผงกะหรี่. (มลายู มาจากทมิฬว่า ผัด; อ. curry).
ฮังเล
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. แกงชนิดหนึ่ง มักใช้หมูสามชั้นหั่นเป็นชิ้นโต ๆ ปรุงด้วยเครื่องแกงเข้าผงกะหรี่ นํ้าแกงข้นและมันมาก.
สำเร็จ
หมายถึงก. เสร็จ เช่น สำเร็จการศึกษา; ถึง, บรรลุ, เช่น สำเร็จโสดา. ว. ที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่น เครื่องแกงสำเร็จ, ได้ผลสมประสงค์ เช่น วางแผนการขายสินค้าได้สำเร็จ.
เบือ
หมายถึงน. ข้าวสารที่ตำประสมกับเครื่องแกงเพื่อให้นํ้าแกงข้น เรียกว่า ข้าวเบือ, เรียกสากไม้ที่ใช้ตำข้าวเบือหรือนํ้าพริกว่า สากกะเบือ, เรียกครกดินที่ใช้ตำข้าวเบือหรือนํ้าพริกว่า ครกกะเบือ.
บวน
หมายถึงน. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มีเครื่องในหมูต้มผัดกับเครื่องแกง มีหอมเผา กระเทียมเผา ข่า ตะไคร้ พริกไทย เป็นต้น ต้มกับนํ้าคั้นจากใบไม้บางชนิดมีใบมะตูม มะขวิด เป็นต้น ทำให้นํ้าแกงมีสีเขียว ๆ มีรสหวาน เค็ม.
น้ำเงี้ยว
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใช้หมูสับผัดกับเครื่องแกงมีหอม กระเทียม ตะไคร้ พริกแห้ง ถั่วเน่า เป็นต้น ต้มกับน้ำต้มกระดูกหมู ใส่ดอกงิ้ว มะเขือเทศ เลือดหมู น้ำแกงมีรสเค็ม เผ็ดน้อย กินกับขนมจีน.
มะแข่น
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Zanthoxylum budrunga Wall. ex Hook.f. ในวงศ์ Rutaceae มีลักษณะทั่วไปคล้ายกำจัดหรือมะข่วง [Z. rhetsa (Roxb.) DC.] ต่างกันที่ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓-๕ มิลลิเมตร มีกลิ่นฉุนจัด เมล็ดกลม สีนํ้าตาลเข้ม ใช้ผลแห้งเป็นเครื่องเทศหรือตำผสมเป็นเครื่องแกงเพื่อชูรส, พริกหอม ลูกระมาศ หรือ หมากมาศ ก็เรียก.
กำจัด
หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Zanthoxylum rhetsa (Roxb.) DC. ในวงศ์ Rutaceae ต้นและกิ่งก้านเป็นหนาม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕-๘ คู่ ผลเล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๖-๗ มิลลิเมตร ผิวขรุขระ มีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นลูกผักชี เมล็ดกลมดำเป็นมัน ผลใช้เป็นเครื่องแกงเพื่อชูรส, พายัพเรียก มะข่วง หรือ หมากข่วง.