ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา อิทธิพล, อิทธิ,อิทธิ-, ฤทธิ์, มหิทธิ
อิทธิ,อิทธิ-
หมายถึง[อิดทิ] น. ฤทธิ์, อำนาจศักดิ์สิทธิ์; ความเจริญ, ความสำเร็จ, ความงอกงาม. (ป.; ส. ฤทฺธิ).
ตำนานนางนพมาศที่เกี่ยวข้องกับวันลอยกระทง
นพ,นพ-
หมายถึง[นบ, นบพะ-] ว. เก้า (ใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น). (ป. นว; ส. นวนฺ).
เหยียด
หมายถึง[เหฺยียด] ก. ทำสิ่งที่งออยู่ให้ตรง เช่น เหยียดเส้นลวด; ยาวตรงออกไปเต็มขนาด เช่น เหยียดแขน เหยียดขา; ในวิธีเลขโบราณว่า ลบออก เช่น เหยียดนพเป็นเอก คือ เอา ๙ ลบ ๑๐ เหลือ ๑; ดูถูก เช่น เหยียดผิว. ว. ยาวตรงออกไปเต็มขนาด ในคำว่า ยาวเหยียด.
รัตนโกสินทร์
หมายถึงน. นามส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ที่มีชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์, อีกนัยหนึ่งหมายความถึงกรุงเทพฯ มักอ้างในประวัติศาสตร์ เช่น สมัยรัตนโกสินทร์.
อภิญญา
หมายถึง[อะพินยา] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).
อภิญญาณ
หมายถึง[อะพินยาน] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).
กระโปรง
หมายถึง[-โปฺรง] น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์หรือฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าวเป็นต้น; ภาชนะเย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้ สำหรับใส่ของต่าง ๆ เช่น ราชปุโรหิตก็ให้เอานางนกไส้ใส่กระโปรงขังไว้จนเพลารุ่งเช้า. (นพมาศ); กะโปรง ก็ใช้.
วิชชา
หมายถึง[วิด-] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้จักกำหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).