ตัวกรองผลการค้นหา
ติตติระ
หมายถึง[ติด-] (แบบ) น. นกกระทา. (ป.).
"Update" เขียนเป็นภาษาไทยยังไง อัปเดต หรือ อัพเดท
ชื่ออาหารที่ยืมมาจากคำภาษาจีน
คำไวพจน์: ปลา - คำไวพจน์ของ ปลา พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
"สังเกต" หรือ "สังเกตุ" คำไหนเขียนถูกต้อง
ติตถะ
หมายถึง[ติด-] (แบบ) น. ดิตถ์, ท่านํ้า. (ป.).
ติตติกะ
หมายถึง[ติด-] (แบบ) ว. มีรสขม. (ป.).
อาทิ
หมายถึงน. ต้น ในคำว่า เป็นอาทิ, เป็นเบื้องต้น, ทีแรก, ข้อต้น. (ป., ส.).
ตติย,ตติย-
หมายถึง[ตะติยะ-] ว. ที่ ๓, คำรบ ๓, มักใช้ประกอบหน้าคำอื่น เช่น ตติยวาร. (ป.).
อำมาตยาธิปไตย
หมายถึง[อำหฺมาดตะยาทิปะไต, อำหฺมาดตะยาทิบปะไต] น. ระบอบการปกครองที่ขุนนางหรือข้าราชการเป็นใหญ่. (อ. bureaucracy).
ขมเป็นยา
หมายถึง(สำ) น. คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด, มักใช้เข้าคู่กับ หวานเป็นลม ว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา.
ต
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๑ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น จิต เมตตา ฟุต.
ติ
หมายถึงก. ชี้ข้อบกพร่อง.
อันต,อันต-,อันต-
หมายถึง[อันตะ-] น. เขต, แดน; ปลายทาง, ที่จบ, อวสาน, ที่สุด; ความตาย, ความเสื่อมสิ้น. (ป., ส.).
ยา
หมายถึงน. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบำรุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดำ เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียกตามวิธีทำก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยากวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมีสำหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทำให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคำว่า เยียวยา; ทำให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคำ พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
ยามา
หมายถึงน. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุยามเป็นผู้ครอง.