ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เศษวรรค, บัง, ฉบัง, สุรางคนา, อรรค, คณ,คณ-,คณะ, ยานี, อินทรวงศ์, สุรางคนางค์, เบญจวรรค
อวรรค
หมายถึงน. เศษวรรค.
การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ
"สะเหล่อ" กับ "เสร่อ" คำไหนที่ถูกต้อง
คำไวพจน์ ที่นิยมใช้ในการแต่งกลอน
เกร็ดความรู้จากละครข้ามสีทันดร
เศษวรรค
หมายถึง[เสสะวัก, เสดวัก] น. พยัญชนะที่เหลือวรรคหรือที่เข้าอยู่ในวรรคทั้ง ๕ ไม่ได้ มี ๑๐ ตัว คือ ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ ํ, อวรรค ก็เรียก.
วรรค
หมายถึง[วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมายวรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคำหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะหนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตราปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).
เบญจวรรค
หมายถึงน. วรรคทั้ง ๕ ได้แก่ พยัญชนะตั้งแต่ ก ถึง ม คือ กะ วรรค จะ วรรค ฏะ วรรค ตะ วรรค ปะ วรรค, พวก ๕.
เว้นวรรค
หมายถึงก. เว้นช่วงของคำ ข้อความ หรือประโยคเป็นระยะ ๆ.
อ
หมายถึง[อะ] เป็นอักษรใช้นำหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).
เครื่องหมายวรรคตอน
หมายถึงน. เครื่องหมายต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบในการเขียนข้อความ เช่น จุลภาค (,) มหัพภาค (.) ปรัศนี (?).
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้นได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นำพยัญชนะเดี่ยวได้อย่างอักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นำตัว ย ให้เป็นเสียงอักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็นเครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และประสมกับเครื่องหมายเป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.
สัมผัสนอก
หมายถึงน. สัมผัสนอกวรรคหรือระหว่างวรรคตามข้อบังคับแห่งฉันทลักษณ์ซึ่งเป็นสัมผัสสระและไม่ซ้ำเป็นคำเดียวกัน
ยานี
หมายถึงน. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มี ๑๑ คำ จัดเป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คำ วรรคหลัง ๖ คำ; ชื่อเพลงหน้าพาทย์.
ร่ายสุภาพ
หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งมี ๕ คำ ส่งสัมผัสท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสกับคำที่ ๑ ที่ ๒ หรือที่ ๓ ของวรรคถัดไป และจะต้องจบด้วยโคลง ๒ สุภาพ.
อจล,อจล-
หมายถึง[อะจะละ-] ว. ไม่หวั่นไหว, ไม่คลอนแคลน, เช่น อจลศรัทธา. (ป., ส.).