ตัวกรองผลการค้นหา
อธิฏฐาน
หมายถึง[อะทิดถาน] ก. ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตปรารถนา, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, อธิษฐาน ก็ว่า. (ป.; ส. อธิษฺาน).
อธิษฐาน
หมายถึง[อะทิดถาน, อะทิดสะถาน] ก. ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตปรารถนา, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, อธิฏฐาน ก็ว่า. (ส.; ป. อธิฏฺาน).
อติเรกจีวร
หมายถึงน. จีวรของภิกษุที่เขาถวายเพิ่มเข้ามานอกจากผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร. (ป., ส.).
เพี้ยง
หมายถึงว. เท่า, เสมอ, เหมือน. (ใช้ในโคลงแทน เพียง). อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่ออธิษฐานให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ส่งความสุข
หมายถึงก. ตั้งจิตอธิษฐานให้ผู้รับบัตรอวยพรมีความสุขความเจริญในวันสำคัญ เช่น วันปีใหม่ วันเกิด.
ปัจจุทธรณ์
หมายถึง[ปัดจุดทอน] (แบบ) น. การถอนคืน. ก. ถอนคืน (ในวินัยใช้คู่กับ อธิษฐาน ซึ่งแปลว่า ตั้งใจ เช่น อธิษฐานสบง คือตั้งใจให้เป็นสบงครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครองก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง). (ป.).
พิษฐาน
หมายถึง[พิดสะถาน] ก. มุ่งหมาย, ขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อช่วยบันดาลให้ประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ตนมุ่งหมาย. (เลือนมาจาก อธิษฐาน).
เจ้าประคู้น
หมายถึงน. คำเรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอให้มาช่วยให้สมประสงค์, เป็นคำอุทานแสดงถึงการอ้อนวอน อธิษฐาน บนบาน หรือ สาปแช่ง เป็นต้น.
สิทธิการิยะ
หมายถึงคำขึ้นต้นในตำราโบราณ เช่น ตำรายา ตำราหมอดู หรือคาถาเมตตามหานิยม เป็นการอธิษฐานขอให้การกระทำนั้น ๆ ประสบความสำเร็จ.
เชื้อ
หมายถึงก. เชิญ เช่น สาวใช้เชื้อชูไป. (ม. คำหลวง ทศพร), มักใช้เข้าคู่กับคำ เชิญ เป็น เชื้อเชิญ; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่งที่มักใช้เนื่องในการอธิษฐาน.
เสี่ยง
หมายถึงก. ตั้งจิตอธิษฐานใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเครื่องเสี่ยงเพื่อทราบความเป็นไปในอนาคตของตนหรือผู้อื่น, ถ้าใช้เทียนเสี่ยง เรียกว่า เสี่ยงเทียน, ถ้าใช้ดอกบัวเสี่ยง เรียกว่า เสี่ยงดอกบัว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เสี่ยงบุญ เสี่ยงบารมี เสี่ยงโชค เสี่ยงวาสนา.
บารมี
หมายถึง[-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบำเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).