ค้นเจอ 173 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ละคร, ตัว, ตัวละคร

หัสนาฏกรรม

หมายถึงน. ละครหรือเรื่องราวที่ตลกขบขัน.

หัส,หัส-

หมายถึง[หัด, หัดสะ-] น. การหัวเราะ; การรื่นเริง, ใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น หัสดนตรี หัสนาฏกรรม หัสนิยาย. (ป. หสฺส; ส. หรฺษ).

หัสดนตรี

หมายถึงน. วงดนตรีสากลซึ่งบรรเลงในงานรื่นเริง.

หัสนิยาย

หมายถึงน. เรื่องชวนหัว, เรื่องราวที่เต็มไปด้วยความตลกขบขัน.

สหัส,สหัส-,สหัสสะ

หมายถึง[สะหัดสะ-] ว. หนึ่งพัน คือ ๑๐ ร้อย (๑,๐๐๐). (ป.; ส. สหสฺร).

ละครใน

หมายถึงน. ละครรำแบบหนึ่ง เดิมมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละครเป็นหญิงล้วน เครื่องแต่งตัวและกระบวนรำประณีตงดงาม ดนตรีไพเราะ แสดงเฉพาะ ๔ เรื่อง คือ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และอุณรุท.

ละคร

หมายถึง[-คอน] น. การแสดงประเภทหนึ่ง ผู้แสดงเรียกว่า ตัวละคร มีเวทีหรือสถานที่ใช้ในการแสดง มีบทให้ตัวละครแสดงตามเนื้อเรื่อง โดยมากมีดนตรีประกอบ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายชนิด; การเล่นที่ใช้สัตว์เป็นตัวแสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์, โดยปริยายหมายถึงความเป็นไปของชีวิต เช่น ละครชีวิต โลกคือละครโรงใหญ่.

ละครแก้บน

หมายถึงน. ละครชาตรีตอนสั้น ๆ ที่จัดแสดงแก้บน.

ละครชวนหัว

หมายถึงน. ละครพูดประเภทขำขัน.

ละครย่อย

หมายถึงน. ละครชวนหัวเรื่องสั้น ๆ.

ละครรำ

หมายถึงน. ละครแบบเดิมของไทย ตัวละครแต่งเครื่องและแสดงบทบาทโดยวิธีร่ายรำไปตามเพลงที่ต้นเสียงและลูกคู่ขับร้อง ใช้ดนตรีปี่พาทย์ประกอบ แบ่งออกเป็น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน.

ละครลิง

หมายถึงน. ละครที่ใช้ลิงแสดง โดยทำท่าทางไปตามคำร้องของผู้บอกบท มักเล่นเรื่องพระรถเมรีและจันทโครบ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ