ค้นเจอ 1,328 รายการ

หย่ง,หย่ง,หย่ง ๆ

หมายถึงว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทำให้ตนสูงขึ้นหรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินหย่ง ๆ วิ่งหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าหย่ง หรือ รอยเท้าหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งหย่ง หรือ นั่งหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.

หย่ง

หมายถึงก. ทำให้สูงขึ้น เช่น หย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น หย่งฟาง หย่งผม หย่งเส้นบะหมี่, โหย่ง ก็ว่า.

ร่องส่วย

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. หย่ง.

หมายถึง[อะ] เป็นอักษรใช้นำหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้นได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นำพยัญชนะเดี่ยวได้อย่างอักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นำตัว ย ให้เป็นเสียงอักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็นเครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และประสมกับเครื่องหมายเป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.

อจล,อจล-

หมายถึง[อะจะละ-] ว. ไม่หวั่นไหว, ไม่คลอนแคลน, เช่น อจลศรัทธา. (ป., ส.).

อน,อน-

หมายถึง[อะนะ-] เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ใช้ประกอบหน้าศัพท์บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อาทร = เอื้อเฟื้อ, อนาทร = ไม่เอื้อเฟื้อ. (ดู อ ๒ ประกอบ).

อชิระ

หมายถึงน. สนามรบ, ที่ว่าง, ลาน. ว. คล่อง, ว่องไว, ตัวเบา. (ส.).

อชะ

หมายถึง[อะชะ] น. แพะ. (ป., ส.).

อวรรค

หมายถึงน. เศษวรรค.

เรือกอและ

หมายถึงน. เรือประมงตามชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ รูปร่างยาวเพรียว หัวและท้ายเรือแหลมสูง เขียนลวดลายสีสันต่าง ๆ ไว้อย่างสวยงาม.

อวิหิงสา

หมายถึงน. ความไม่เบียดเบียน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ