ค้นเจอ 291 รายการ

สบ

หมายถึงก. พบ, ปะ, เช่น สบโชค สบตา สบเหมาะ ฟันบนสบฟันล่าง, ถูก, ต้อง, เช่น สบใจ สบปาก สบอารมณ์. น. บริเวณที่แม่น้ำตั้งแต่ ๒ สายขึ้นไปมาบรรจบกัน เช่น สามสบ คือบริเวณที่แม่น้ำบีคี่ใหญ่ ห้วยซองกะเลีย และแม่น้ำรันตี รวม ๓ สาย มาสบกัน แล้วไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อย. ว. ทุก ๆ, เสมอ, เช่น สบไถง ว่า ทุกวัน, สบสมัย ว่า ทุกสมัย. (ข.).

หน

หมายถึงน. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.

สามสบ

หมายถึงน. บริเวณที่แม่น้ำ ๓ สายมาบรรจบกัน.

วันพระไม่มีหนเดียว

หมายถึง(สำ) น. วันหน้ายังมีโอกาสอีก (มักใช้พูดเป็นเชิงอาฆาต).

รู้หนเหนือหนใต้

หมายถึงก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วไม่รู้หนเหนือหนใต้, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้หนเหนือหนใต้, รู้เหนือรู้ใต้ ก็ว่า.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น โรค มรรค มารค เทคนิค.

ทุกหัวระแหง

หมายถึงว. ทุกแห่งหน.

ครา

หมายถึง[คฺรา] น. ครั้ง, คราว, หน.

ปลวังค,ปลวังค-

หมายถึง[ปะละวังคะ-] (แบบ) น. ลิง เช่น ปลวังคสังวัจฉร. (ส. ปฺลวงฺค).

คต,-คต

หมายถึง[-คะตะ, -คด] ก. ถึงแล้ว, ไปแล้ว, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ตถาคต สุคต สวรรคต ทิวงคต. (ป.).

ชค,ชค-

หมายถึง[ชะคะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน เช่น ชคสัตว์ ว่า สัตว์ที่อาศัยแผ่นดิน. (ป., ส.).

เทือ,เทื่อ,เทื้อ,เทื้อ

หมายถึงว. ครั้ง, หน, เตื้อ ก็ใช้.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ