ค้นเจอ 19 รายการ

ส้อม

หมายถึงน. เหล็ก ๒ ง่าม ปลายแหลม ใช้แทงปลาเป็นต้น; เครื่องใช้จิ้มอาหารกิน, คู่กับ ช้อน; ไม้ไผ่ที่จักให้เป็นซี่ ๆ ทำปลายซี่ให้แหลมสำหรับเสียบอ้อยที่ควั่นเป็นข้อ ๆ, เรียกอ้อยควั่นที่เสียบซี่ไม้ไผ่ปลายแหลมดังกล่าวว่า อ้อยส้อม. ก. ปาด เหลา หรือเจียน เช่น ส้อมงวงมะพร้าว.

พื้นบ้าน

หมายถึงว. เฉพาะถิ่น เช่น ของพื้นบ้าน, มักใช้เข้าคู่กับคำ พื้นเมือง เป็น พื้นบ้านพื้นเมือง.

ส้อมเสียง

หมายถึงน. อุปกรณ์ทำด้วยโลหะเป็นรูปอักษร U มีก้านสำหรับจับยึด เมื่อเคาะจะเกิดเสียงที่มีความถี่คงที่ เป็นเวลานาน ใช้เป็นความถี่อ้างอิง เช่นใช้เทียบเสียงเครื่องดนตรี.

ศิลปะพื้นบ้าน

หมายถึงน. ศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น วรรณกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ หัตถกรรม ที่ชาวบ้านได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการเรียนรู้และฝึกปรือในครอบครัวหรือในหมู่บ้าน เป็นงานสร้างสรรค์ของสังคมชาวบ้าน และได้พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกันมาหลายชั่วคน.

กินส้อม

หมายถึงก. กินอาหารด้วยส้อม.

ฉลองพระหัตถ์

หมายถึง(ราชา) น. ช้อนส้อม, ตะเกียบ, มีดสำหรับโต๊ะอาหาร, ใช้ว่า ฉลองพระหัตถ์ช้อนส้อม ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ ฉลองพระหัตถ์มีด.

แม่เพลง

หมายถึงน. หญิงที่เป็นต้นบทหรือหัวหน้าวงเพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ.

วิเศษณการก

หมายถึง[วิเสสะนะ-] (ไว) น. คำที่เรียงอยู่หลังบุรพบทที่ใช้เป็นบทเชื่อม เช่น รถของฉัน เขากินด้วยช้อนส้อม เขามาสู่บ้าน ถ้าละบุรพบทเสีย ก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบ เช่น รถฉัน เขากินช้อนส้อม เขามาบ้าน.

กระดวง

หมายถึง(ปาก; เพี้ยนมาจาก กราดวง) น. ลูกมะพร้าวทุยที่ตัดครึ่งท่อน สำหรับถูพื้นบ้านหรือหวีด้ายทอหูก.

กราดวง

หมายถึง[กฺรา-] น. ลูกมะพร้าวทุยที่ตัดครึ่งท่อน สำหรับถูพื้นบ้านหรือหวีด้ายทอหูก, เสียงที่พูดกันเป็นกระดวง.

สำหรับ

หมายถึงว. คู่กับ, ควรกับ, เช่น ช้อนกับส้อมเป็นของสำหรับกัน หมากพลูกับเชี่ยนเป็นของสำหรับกัน. บ. เพื่อ เช่น ของสำหรับถวายพระ วันนี้ฉันทำกับข้าวเป็นพิเศษสำหรับเธอ.

เหย่อย

หมายถึง[เหฺย่ย] น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสดและรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาลเช่นฤดูเกี่ยวข้าว.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ