ตัวกรองผลการค้นหา
สุตตันตปิฎก,สุตตันตะ
หมายถึง[สุดตันตะปิดก] น. ชื่อปิฎก ๑ ในพระไตรปิฎก. (ป.).
จริยาปิฎก
หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์ที่ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในชาติที่ล่วงแล้ว รวมอยู่ในขุทกนิกายแห่งสุตตันตปิฎก.
ทีฆนิกาย
หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์นิกายแรกแห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดยาว รวบรวมพระสูตรขนาดยาวไว้ในหมวดนี้.
สังยุตนิกาย
หมายถึง[สังยุดตะ-] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๓ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดประมวล คือ ประมวลเรื่องประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันทั้งหมด.
มัชฌิมนิกาย
หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๒ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดปานกลาง รวบรวมพระสูตรขนาดปานกลางไว้ในหมวดนี้. (ป.).
ขุทกนิกาย
หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดเล็กน้อย รวบรวมข้อธรรมะที่ไม่อยู่ใน ๔ นิกายข้างต้น มี ๑๕ เรื่อง ซึ่งมีธรรมบทและชาดก รวมอยู่ในคัมภีร์นี้ด้วย.
อังคุตรนิกาย
หมายถึง[-คุดตะระ-] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงหลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.
ไตรปิฎก
หมายถึง[-ปิดก] น. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามี ๓ ปิฎก คือ พระวินัย เรียก วินัยปิฎก พระสูตร เรียก สุตตันตปิฎก พระอภิธรรม เรียก อภิธรรมปิฎก, ตรีปิฎก ก็ว่า.
สูตร
หมายถึง[สูด] น. ชื่อหลักธรรมในพระสุตตันตปิฎก เรียกว่า พระสูตร เช่น มงคลสูตร กาลามสูตร; ข้อความทางปรัชญาที่เรียบเรียงร้อยกรอง หรือย่อขึ้นไว้สำหรับท่องจำ เช่น โยคสูตร นยายสูตร สูตรสนธิ.
นิกาย
หมายถึงน. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน ที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียกคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).
อภิธรรม
หมายถึง[อะพิทำ] น. ชื่อปิฎกหนึ่งในพระไตรปิฎก ได้แก่ ๑. พระวินัยปิฎก ๒. พระสุตตันตปิฎก ๓. พระอภิธรรมปิฎก, ชื่อธรรมะชั้นสูง มี ๗ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. สังคณี ๒. วิภังค์ ๓. ธาตุกถา ๔. ปุคคลบัญญัติ ๕. กถาวัตถุ ๖. ยมก ๗. ปัฏฐาน นิยมใช้สวดในงานศพ. (ส. อภิธรฺม; ป. อภิธมฺม).