ตัวกรองผลการค้นหา
สิกขากาม,สิกขากาม-
หมายถึง[-กามะ-] ว. ผู้ใคร่ต่อการศึกษา, ผู้นับถือข้อบัญญัติโดยเคร่งครัด, สิกขกาม ก็ว่า เช่น สิกขกามบุคคล หมายถึง บุคคลที่ใคร่ต่อการศึกษา. (ป.).
สิกขา
หมายถึงน. ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่ ศีล เรียกว่า ศีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา; การศึกษา, การเล่าเรียน, เช่น ปริยัติสิกขา ปฏิบัติสิกขา. (ป.; ส. ศิกฺษา).
กาม,กาม-
หมายถึง[กามมะ-] น. ความใคร่, ความใคร่ทางเมถุน. (ป., ส.).
กามท,กามท-
หมายถึง[กามมะทะ-] ว. ผู้ให้ตามที่ปรารถนา เช่น หนึ่งโสดกามทราช จักประพาศยลราชี ตามวิถีแนวไม้ไพรระเรียง. (ม. คำหลวง หิมพานต์). (ป., ส.).
กามาทีนพ
หมายถึงน. โทษแห่งกาม. (ป. กาม + อาทีนว).
กามราค,กามราคะ
หมายถึง[กามมะราก, กามมะ-] น. ความกำหนัดในกาม. (ป., ส.).
กามวิตก
หมายถึงน. ความครุ่นคิดในกาม, ความคิดคำนึงในทางกาม. (ป.).
ไตรสิกขา
หมายถึงน. สิกขา ๓ คือ ศีล เรียกว่า สีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา.
ฟองกาม
หมายถึงก. กำเริบกาม.
กามจาริน
หมายถึงครุฑ, ผู้ไปตามอำเภอใจ
กามาพจร,กามาวจร
หมายถึงว. ที่ยังข้องอยู่ในกาม, ที่ท่องเที่ยวอยู่ในกามภพ. (ป. กาม + อวจร).
กามกรีฑา
หมายถึงน. ชั้นเชิงในทางกาม. (ส.).