ตัวกรองผลการค้นหา
สังคายนา,สังคายนาย
หมายถึง[-คายะ-, -คายยะ-] น. การซักซ้อม, การสวดพร้อมกันและเป็นแบบเดียวกัน, การประชุมชำระพระไตรปิฎกให้เป็นแบบเดียวกัน. (ปาก) ก. สะสาง เช่น เรื่องนี้ต้องสังคายนากันเสียที. (ป. สงฺคายน).
เทศน์แจง
หมายถึงน. เทศน์สังคายนา ซึ่งต้องอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการทำสังคายนาพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในการสังคายนาครั้งแรก.
สังคีติ
หมายถึงน. สังคายนา, การสวดพร้อมกันและเป็นแบบเดียวกัน, การประชุมชำระพระไตรปิฎกให้เป็นแบบเดียวกัน. (ป.).
ธรรมสังคีติ
หมายถึงน. การสังคายนาธรรม, การร้อยกรองธรรม. (ส. ธรฺม + สํคีติ; ป. ธมฺมสงฺคีติ).
แจง
หมายถึงก. กระจายออกเป็นส่วน ๆ เช่น แจงเบี้ย แจงถั่ว, พูดหรือเขียนขยายความออกไป ในคำว่า ชี้แจง. น. เรียกเทศน์สังคายนาว่า เทศน์แจง.
เถรวาท
หมายถึง[เถระวาด] น. ลัทธิที่ถือตามคติซึ่งพระเถระพุทธสาวกได้ทำสังคายนาไว้, หินยาน หรือ ทักษิณนิกาย ก็ว่า. (ป.).
ร้อยกรอง
หมายถึงก. สอดผูกให้ติดต่อกัน, ร้อย ถัก และเย็บงานประเภทประณีตศิลป์เช่นดอกไม้ให้เป็นรูปต่าง ๆ, เช่น ร้อยกรองข่ายคลุมไตร ร้อยกรองสไบ; ตรวจชำระให้ถูกต้อง, สังคายนา, ในคำว่า ร้อยกรองพระธรรมวินัย; แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ, เรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์. น. คำประพันธ์, ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์.