ค้นเจอ 12 รายการ

สรวล

หมายถึง[สวน] ก. หัวเราะ, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระสรวล.

แย้มสรวล

หมายถึงก. ยิ้มแย้ม ร่าเริง.

สำรวล

หมายถึงก. หัวเราะ, รื่นเริง. (แผลงมาจาก สรวล).

สรวลสันหรรษา

หมายถึงก. หัวเราะร่าเริงยินดี, หัวเราะอย่างชอบอกชอบใจ, เช่น บรรดาศิษย์เก่ามาร่วมสรวลสันหรรษาในงานชุมนุมศิษย์เก่าประจำปี.

กะก่อง

หมายถึง(กลอน) ว. งดงาม เช่น คางเพลาคือกลวิมลกัณ- ฐกะก่องคือแสงสรวล. (สมุทรโฆษ).

โคกม้า

หมายถึงน. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น โคกม้าม่ายนางนวล กระสาสรวลกระสันต์. (ลอ).

กัณฐกะ

หมายถึง[-ถะกะ] น. เครื่องประดับคอ เช่น คางเพลาคือกลวิมลกัณ- ฐกก่องคือแสงสรวล. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).

เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด

หมายถึงน. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคมสมเขาสรวล คำสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.

ศรี

หมายถึง[สี] (กลอน) น. ลักษณนามใช้แก่คน เช่น พระปิตุราชมาตุรงค์ทรงพระสรวล เห็นสมควรคู่ครองกันสองศรี. (อภัย).

คลิ้งโคลง

หมายถึง[คฺลิ้งโคฺลง] น. นกกิ้งโครง เช่น คลิ้งโคลงคล้อแคล้ในรัง นกเจ่าเหงาฟัง แลสารกระสาสรวลตาง. (สมุทรโฆษ). (ดู กิ้งโครง ๑).

ครอบจักรวาล

หมายถึง[คฺรอบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น "พี่นางแกล้งแปลงเรื่องให้เคืองพี่ สรวลซิกซี้กันเสียได้ไม่ไต่สวน จวนจะชื่นช่างมาคืนให้รัญจวน ออสำนวนพี่นางอย่างนี้ออ. (จารึกวัดโพธิ์)."

ทรง

หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ