ค้นเจอ 1,117 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา วิรตะ,วิรัต, วิรัติ

วิร,วิร-,วิระ

หมายถึง[วิระ-] ว. วีระ, กล้าหาญ. น. ผู้กล้าหาญ, นักรบ; ผู้พากเพียร; ผู้เรืองนามในทางกล้าหาญ. (ป., ส. วีร).

ทวิตียะ,ทวิตียา

หมายถึง[ทะวิ-] (แบบ) ว. ที่ ๒. (ส.).

วิ

หมายถึงคำนำหน้าศัพท์ แปลว่า วิเศษ, แจ้ง, ต่าง, เช่น วิสุทธิ วิเทศ. (ป., ส.).

ตี

หมายถึงก. เอามือหรือไม้เป็นต้นฟาดหรือเข่นลงไป เช่น ตีเด็ก ตีดาบ, ตบเบา ๆ เช่น นอนตีพุง; บุให้เข้ารูป เช่น ตีขัน ตีบาตร; แผ่ให้แบน เช่น ตีทอง; ทำให้เกิดเสียง เช่น ตีระฆัง; กด, ประทับ, เช่น ตีพิมพ์ ตีตรา; ทำให้เข้ากัน เช่น ตีเกลียวเชือก ตีไข่; กำหนด เช่น ตีราคา; ทิ้งให้เห็น เช่น ตีไพ่; ชักว่าวให้ไปในทิศทางที่ตนต้องการ เช่น ตีว่าวไปทางซ้าย ตีว่าวหนี ตีว่าวแยกกัน. น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางคืน หลังเที่ยงคืน ตั้งแต่ ๑ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกา เรียกว่า ตี ๑ ถึง ตี ๖, แต่ตี ๖ นิยมเรียกว่า ยํ่ารุ่ง.

ทุกร,ทุกร-

หมายถึง[ทุกกะระ-] (แบบ) น. สิ่งที่ทำได้ยาก. (ป. ทุกฺกร).

วิภว,วิภว-

หมายถึง[-พะวะ-] น. ความเจริญ; สมบัติ; ความไม่มีไม่เป็น. (ป., ส.).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียนตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อสะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน), ถ้าตามพยัญชนะอื่น แต่มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและมีคำอื่นตาม พยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และตัว ร ออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ-ระ-ลี) หรดี (หอ-ระ-ดี).

วิสม,วิสม-

หมายถึง[-สะมะ-] ว. ไม่เรียบ, ไม่เสมอ, ขรุขระ, ไม่เท่ากัน. (ป., ส.).

วิศว,วิศว-

หมายถึง[วิดสะวะ-] ว. ทั้งหมด, ทั้งปวง. (ส. วิศฺว; ป. วิสฺส).

เดียร,เดียระ

หมายถึง[เดียน, เดียระ] (แบบ) น. ฝั่ง. (ป., ส. ตีร).

ตีป่า

หมายถึงก. ตีดะ, ตีไม่เลือก.

วิทัศน์

หมายถึงน. การมองการณ์ไกล, วิสัยทัศน์. (อ. vision).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ