ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา วิญญู, วิชน, พิชญ์, เกษตรศาสตร์, วิชา, ไพชน
วิชย,วิชย-,วิชัย
หมายถึง[วิชะยะ-, วิไช] น. ความชนะ, ชัยชนะ. (ป., ส.).
วิชาโท
หมายถึงน. รายวิชาที่ผู้เรียนเลือกเรียนให้ลึกซึ้งรองลงมาจากวิชาเอก. (อ. minor course).
วิชาบังคับพื้นฐาน
หมายถึงน. รายวิชาพื้นฐานที่บังคับให้เรียนในหลักสูตร. (อ. basic requirement).
วิชาบังคับเลือก
หมายถึงน. รายวิชาเลือกที่ทางภาควิชาบังคับให้เรียนในหลักสูตร. (อ. elective prescribed course).
วิชาพื้นฐาน
หมายถึงน. รายวิชาที่ถือว่าเป็นพื้นฐานของวิชาในระดับที่สูง ๆ ขึ้นไป. (อ. basic course).
วิชาเลือก
หมายถึงน. รายวิชาที่กำหนดให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้. (อ. elective course).
วิชา
หมายถึงน. ความรู้, ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน, เช่น วิชาภาษาไทย วิชาช่าง วิชาการฝีมือ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
วิชาบังคับ
หมายถึงน. รายวิชาที่กำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในหลักสูตรนั้นจะต้องเรียน. (อ. prescribed course).
วิชาธร
หมายถึงน. พิทยาธร.
วิชานนะ
หมายถึงน. ความรู้, ความเข้าใจ. (ป.; ส. วิชฺาน).
วิชาเอก
หมายถึงน. รายวิชาที่ผู้เรียนเลือกเรียนให้ลึกซึ้งเป็นวิชาหลัก ตามหลักสูตรปริญญาหรืออนุปริญญา. (อ. major course).
วิชชา
หมายถึง[วิด-] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้จักกำหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).