ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา กุศลกรรมบถ, วจีทุจริต, ทุจริต, อกุศลกรรมบถ
วจีสุจริต
หมายถึง[วะจีสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ๑ การไม่พูดคำหยาบ ๑ การไม่พูดส่อเสียด ๑ การไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑.
วจี
หมายถึง[วะ-] น. คำพูด, ถ้อยคำ. (ป.; ส. วจิ, วาจฺ).
สัมมาวาจา
หมายถึงน. “การเจรจาชอบ” คือ ประพฤติวจีสุจริต. (ป.).
โดยสุจริต
หมายถึง(กฎ) ว. โดยซื่อสัตย์ เปิดเผย หรือโดยไม่รู้ถึงสิทธิของบุคคลอื่นที่ดีกว่า.
สุจริต
หมายถึง[สุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบ. (ป., ส.).
กุศลกรรมบถ
หมายถึง[กุสนละกำมะบด] น. ธรรมหมวดหนึ่ง มี ๑๐ อย่าง คือ กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓. (ส.).
วจีทุจริต
หมายถึง[วะจีทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การพูดเท็จ ๑ การพูดคำหยาบ ๑ การพูดส่อเสียด ๑ การพูดเพ้อเจ้อ ๑.
วจีวิภาค
หมายถึงน. ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยคำและหน้าที่ของคำ.
กายสุจริต
หมายถึง[กายยะสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ๑ การไม่ลักทรัพย์ ๑ การไม่ประพฤติผิดในกาม ๑.
สุจริตใจ
หมายถึงว. บริสุทธิ์ใจ, จริงใจ, เช่น เขาช่วยเหลือเด็กคนนั้นด้วยความสุจริตใจ ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน.
มโนสุจริต
หมายถึง[มะโนสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางใจ มี ๓ อย่าง ได้แก่ ความไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความไม่พยาบาท ๑ ความเห็นถูกตามทำนองคลองธรรม ๑.
จริงใจ
หมายถึงว. บริสุทธิ์ใจ, สุจริตใจ.