ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เครื่องคาด, สะกด, ปะกน, บาศก์, ลูก, ลูกปะกน, ลูกเกด, เกด
ลูกสะกด
หมายถึงน. ลูกประคำที่เป็นลูกคั่น.
80 คำศัพท์ในภาษาไทยที่มักเขียนผิด
คำในภาษาไทยที่อ่านยาก ระดับปราบเซียน!
"สังเกต" หรือ "สังเกตุ" คำไหนเขียนถูกต้อง
ทันการ, ทันกาล และทันการณ์ คำไหนถูก
สะกด
หมายถึงก. กลั้นไว้, ข่มไว้, เช่น เมื่อเกิดความไม่พอใจ ก็รู้จักสะกดอารมณ์ไว้บ้าง; เขียนหรือบอกตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นคำ, เรียกพยัญชนะที่บังคับตัวอักษรข้างหน้าให้เป็นมาตราต่าง ๆ เช่น แม่กน น สะกด แม่กด ด สะกด. น. เรียกลูกประคำที่เป็นลูกคั่นว่า ลูกสะกด. (เทียบ ข. สงฺกด).
เครื่องคาด
หมายถึงน. เครื่องรางบางชนิด เช่น ตะกรุด ลูกสะกด ปลัดขิก ใช้ร้อยเชือกสำหรับคาดเอว.
สะกดอกสะกดใจ,สะกดอารมณ์
หมายถึงก. ข่มอารมณ์มิให้หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วหรือที่กำลังประสบ.
สะกดรอย
หมายถึงก. ตามไปติด ๆ โดยไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ตัว.
สะกดจิต
หมายถึงก. ใช้อำนาจจิตเป็นสื่อสะกดให้หลับแล้วบังคับให้กระทำตามความต้องการของตน.
สะกดทัพ
หมายถึงก. ใช้อำนาจเวทมนตร์บังคับให้ทหารในกองทัพของฝ่ายตรงข้ามหลับ.
สะกดผี
หมายถึงก. ใช้เวทมนตร์สะกดไม่ให้ผีอาละวาดหรือให้อยู่ในอำนาจเป็นต้น.
ลูก
หมายถึงน. ผู้มีกำเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คำที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูดหลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คำที่ลูกใช้แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ง่วงนอน; เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา; เรียกสิ่งที่จะสืบเป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึงผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคำพยางค์เดียวอันอาจทำให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคำ ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด; เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดยอนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน; ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง ๕ ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
หลาน
หมายถึงน. ลูกของลูก; ลูกของพี่หรือของน้อง.
เหลน
หมายถึง[เหฺลน] น. ลูกของหลานที่เป็นลูกของลูกเป็นต้น.
ลูกเวรลูกกรรม
หมายถึงน. ลูกที่ทำให้พ่อแม่ต้องเสียอกเสียใจ หรือได้รับความเดือดร้อน.