ค้นเจอ 16 รายการ

รับสั่ง

หมายถึง(ราชา) น. คำสั่ง (ใช้แก่เจ้านาย) เช่น มีรับสั่งให้เข้าเฝ้า. ก. พูด, บอก, (ใช้แก่เจ้านาย) เช่น ท่านรับสั่งให้หา.

ตรัส

หมายถึง(ราชา) ก. พูด. ว. แจ้ง, สว่าง, ชัดเจน.

หมายรับสั่ง

หมายถึงน. หมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพระราชพิธีเป็นการภายในตอนล่างสุดของหมายเขียนว่า “ทั้งนี้ให้จัดการตามหน้าที่และกำหนดวันตามรับสั่งอย่าให้ขาดเหลือ ถ้าสงสัยให้ถามผู้รับรับสั่งโดยหน้าที่ราชการ”.

เสาวณิต

หมายถึงก. ฟังแล้ว, รับสั่ง.

ตรัสวิน

หมายถึงครุฑ, ผู้เคลื่อนที่เร็ว

ไตร

หมายถึง[ไตฺร] ว. ไกร, ยิ่ง, เช่น ตรัสไตร.

กระแสพระราชดำรัส

หมายถึง[-ราดชะ-] (ราชา) น. ข้อความที่พระเจ้าแผ่นดินตรัส.

บรรหาร

หมายถึง[บันหาน] (กลอน; แผลงมาจาก บริหาร) ก. เฉลย, กล่าวแก้, ตรัสสั่ง.

ประภาษ

หมายถึง[ปฺระพาด] ก. ตรัส, บอก, พูด. (ส. ปฺรภาษ; ป. ปภาส).

กรมวัง

หมายถึง[กฺรมมะ-] น. แผนกราชการที่บริหารกิจการในพระราชสำนัก; ข้าราชการแผนกนี้ เช่น กรมวังรับสั่งใส่เกศี. (อิเหนา).

สำแดง

หมายถึงคำกล่าวประกอบชื่อผู้อื่นซึ่งปรากฏอยู่เฉพาะหน้า, เป็นสำนวนแปลบาลีเก่า ใช้ในที่ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสกับพระสาวก เช่น สำแดงอานนท์.

ดำรัส

หมายถึง[-หฺรัด] น. คำพูดของเจ้านาย ใช้ว่า พระดำรัส, คำพูดของพระมหากษัตริย์ ใช้ว่า พระราชดำรัส. ก. พูด (ใช้แก่เจ้านาย). (แผลงมาจาก ตรัส).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ