ค้นเจอ 15 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา รับคำ, รับปาก

รับปาก

หมายถึงก. รับคำ เช่น เขารับปากว่าจะมารับ แต่ก็ไม่มา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ รับคำ เป็น รับปากรับคำ.

รับคำ

หมายถึงก. ให้สัญญา, ไม่ปฏิเสธ, ตอบตกลง, เช่น ลูกจ้างรับคำนายจ้าง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ รับปาก เป็น รับปากรับคำ.

ถาม

หมายถึงก. พูดเพื่อรับคำตอบ.

ขันแข็ง

หมายถึงว. อย่างเอาจริงเอาจัง เช่น ขยันขันแข็ง รับปากขันแข็ง.

เจ้าข้า

หมายถึงว. คำของผู้น้อยรับคำของผู้ใหญ่; คำร้องบอกกล่าว.

สมพรปาก

หมายถึงคำรับคำหวังดีต่อผู้ที่พูดอวยพรให้เป็นมงคล เช่น ขอให้สมพรปากนะ.

เสียงาน

หมายถึงก. ทำให้สิ่งหรือเรื่องที่กำหนดไว้ไม่สำเร็จหรือบกพร่อง เช่น เพื่อน ๆ รับปากว่าจะมาช่วยแล้วไม่มา ทำให้เสียงานหมด.

คล่าว

หมายถึง[คฺล่าว] (กลอน) ก. ไหล, หลั่งไหล, เช่น บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ. (นิ. นรินทร์).

สามัญสำนึก

หมายถึงน. ความสำนึกหรือความเฉลียวใจที่คนปรกติธรรมดาทั่วไปควรจะต้องรู้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำสั่งสอน เช่น ทำอะไรให้มีสามัญสำนึกเสียบ้างว่าอะไรควรอะไรไม่ควร.

สิ

หมายถึงคำประกอบท้ายคำอื่นเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด หรือให้สละสลวย เป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ เชิงชวน หรือรับคำ เป็นต้น เช่น ไปสิ มาสิ, ซิ หรือ ซี ก็ว่า.

ซิ,ซี

หมายถึงคำประกอบท้ายคำอื่นเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด หรือให้สละสลวยเป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ เชิงชวน หรือรับคำเป็นต้น เช่น ไปซิ มาซิ หรือ ไปซี มาซี, สิ ก็ว่า.

สนอง

หมายถึง[สะหฺนอง] ก. ทำตามที่ได้รับคำสั่งหรือคำขอร้องเป็นต้น เช่น สนองโครงการในพระราชดำริ สนองนโยบายของรัฐบาล; โต้ตอบ เช่น กรรมตามสนอง, ตอบรับการเสนอ เช่น เสนอขายสนองซื้อ. (ข. สฺนง).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ