ค้นเจอ 12 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา วิศรุต, วิมุต, วิษักต์, วิสฤต

สุต,สุต-,สุต-

หมายถึง[สุตะ-, สุดตะ-] ก. ได้ยิน, ได้ฟังแล้ว.

สุต

หมายถึง[สุด] น. ลูกชาย (มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส). (ป., ส.).

รวิ

หมายถึงน. พระอาทิตย์, ใช้แผลงว่า รพิ รพี หรือ รำไพ ก็ได้. (ป., ส.).

รวิ

หมายถึง(โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).

รำไพ

หมายถึงดู รวิ.

สุตตนิบาต

หมายถึงน. คัมภีร์ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน.

รพิ,รพี

หมายถึงน. พระอาทิตย์. (ป., ส. รวิ).

กถามรรคเทศนา

หมายถึง[-มักคะเทดสะหฺนา] น. เทศนาฝ่ายกถามรรค, คู่กับ สุตตันตเทศนา. (ส. -เทศนา ว่า การแสดง).

อง

หมายถึงน. คำนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ญวน เช่น องเชียงสือ องเชียงชุน, คำนำหน้าสมณศักดิ์พระสงฆ์อนัมนิกายชั้นปลัดขวาปลัดซ้ายและพระคณานุกรม เช่น องสรภาณมธุรส องสุตบทบวร. (ญ.).

ยาม,ยาม-

หมายถึง[ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).

อเวจี

หมายถึงน. ชื่อนรกขุม ๑ ในนรก ๘ ขุม ได้แก่ ๑. สัญชีวนรก ๒. กาฬสุตตนรก ๓. สังฆาฏนรก ๔. โรรุวนรก ๕. มหาโรรุวนรก ๖. ตาปนรก ๗. มหาตาปนรก ๘. อเวจีมหานรก ซึ่งเป็นนรกขุมลึกที่สุดสำหรับลงโทษแก่ผู้ที่มีบาปหนักที่สุด, ใช้เป็น อวิจี หรือ อวีจิ ก็มี.

นิบาต

หมายถึง[-บาด] น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = คัมภีร์ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = คัมภีร์ที่รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็นหมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๒ ข้อ; (ไว) ศัพท์ประเภทหนึ่ง สำหรับใช้เติมลงข้างหน้าหรือข้างหลังคำหรือข้อความเพื่อเน้นความ ไขความ ยอมความอย่างไม่เต็มใจเป็นต้น เช่น ก็ดี ก็ตาม หรือใช้เป็นคำขึ้นต้นข้อความใหม่ต่อจากข้อความเดิม เช่น ก็แหละ. (ป., ส. นิปาต).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ