ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา วิภาส, ปริภาษ,ปริภาษณ์, ทวิภาค, วิภาค, วิภาษ, รวิวาร, วิฆาส, วิภาช, พินาศ, พิภาค, วิลาส, พิลาส
ภาส,ภาส-
หมายถึง[พาด, พาดสะ-, พาสะ-] น. แสง, สว่าง, แจ้ง. (ป., ส.).
รวิ
หมายถึงน. พระอาทิตย์, ใช้แผลงว่า รพิ รพี หรือ รำไพ ก็ได้. (ป., ส.).
หมายถึง(โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
รำไพ
หมายถึงดู รวิ.
ประภาส
หมายถึง[ปฺระพาด] น. แสงสว่าง. (ส. ปฺรภาส; ป. ปภาส).
รพิ,รพี
หมายถึงน. พระอาทิตย์. (ป., ส. รวิ).
ภาษ
หมายถึง[พาด] ก. พูด, กล่าว, บอก. (ส.; ป. ภาส).
อนุภาษ
หมายถึง[-พาด] ก. พรํ่ากล่าว, พรํ่าสอน. (ส.; ป. อนุภาส).
ปริภาษ,ปริภาษณ์
หมายถึง[ปะริพาด] ก. บริภาษ. (ส.; ป. ปริภาส).
ประภาษ
หมายถึง[ปฺระพาด] ก. ตรัส, บอก, พูด. (ส. ปฺรภาษ; ป. ปภาส).
ยาม,ยาม-
หมายถึง[ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
ที่นั่ง
หมายถึง(ราชา) น. อาคารที่ประทับซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหาสมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาสพิมาน (บางปะอิน), ที่ประทับสำหรับประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งภัทรบิฐ, ยานที่ประทับในการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน, ยานหรือพาหนะที่พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีทรงหรือประทับ เช่น รถพระที่นั่ง ม้าพระที่นั่ง; ก้น, ที่นั่งทับ, ใช้ว่า พระที่นั่ง.