ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ยี่หุบ, ป้าย, ปี่, ยี่หร่า, ยี่ห้อ, เทียนขาว, ปี่ชวา, เครื่องเทศ, ยี่หระ, ชวา, ยี่ก่า, ยิหวา
ยี่
หมายถึงว. สอง ในคำว่า ยี่สิบ, ที่สอง เช่น เดือนยี่ (คือ เดือนที่ ๒ นับทางจันทรคติ), โบราณใช้ว่า ญี่ ก็มี.
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ปีขาล.
หวา,หว่า,หว่า
หมายถึงว. คำประกอบท้ายเพื่อเน้นความ เช่น ไปไหนหวา.
สอง
หมายถึงน. จำนวนหนึ่งบวกหนึ่ง; เดือน ๒ ทางจันทรคติ เรียกว่า เดือนยี่ ตกในราวเดือนมกราคม.
บุษยมาส
หมายถึงน. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยนักษัตรบุษยะ คือ เดือนยี่ ตกในราวมกราคม. (ส.).
เดือนคู่
หมายถึง(ปาก) น. เดือนที่มีจำนวนคู่ คือ เดือนยี่ เดือน ๔ เดือน ๖ เดือน ๘ เดือน ๑๐ เดือน ๑๒, คู่กับ เดือนคี่.
เดือนเต็ม
หมายถึงน. เดือนทางจันทรคติที่มี ๓๐ วัน วันสิ้นเดือนตรงกับวันแรม ๑๕ คํ่า คือ เดือนยี่ เดือน ๔ เดือน ๖ เดือน ๘ เดือน ๑๐ เดือน ๑๒, คู่กับ เดือนขาด.
หนาวดอกงิ้ว
หมายถึงน. ระยะเวลาที่ต้นงิ้วออกดอก ประมาณเดือนยี่ อากาศเย็นกว่าธรรมดา เช่น น้ำค้างพรมลงเฉื่อยเรื่อยเรื่อยริ้ว หนาวดอกงิ้วงิ้วออกดอกไสว. (นิ. ประธม).
ตรียัมปวาย
หมายถึง[ตฺรียำปะ-] น. พิธีพราหมณ์ฝ่ายใต้กระทำรับพระอิศวร ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งกระทำในวันขึ้น ๗ คํ่าตอนเช้า ขึ้น ๙ คํ่าตอนเย็น เดือนยี่. (เทียบทมิฬ ติรุเวมปาไว).
อี่
หมายถึง(โบ) น. เรียกลูกสาวคนที่ ๒ ว่า ลูกอี่, เรียกลูกสาวคนที่ ๑ ว่า ลูกเอื้อย, คู่กับ คำที่เรียกลูกชายคนที่ ๑ ว่า ลูกอ้าย, เรียกลูกชายคนที่ ๒ ว่า ลูกยี่.
ตรีปวาย
หมายถึง[ตฺรีปะ-] น. พิธีพราหมณ์กระทำรับพระนารายณ์ ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีแห่พระนารายณ์ ซึ่งกระทำในวันแรมคํ่า ๑ ถึงแรม ๕ คํ่า เดือนยี่. (เทียบทมิฬ ติรุปปาไว).
จตุรงคประดับ
หมายถึง[จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอน ๔ วรรค ในแต่ละบทขึ้นต้นวรรคด้วยคำ ๒ คำซ้ำกัน ตัวอย่างว่า พระหน่อไทยได้สดับแสดงกิจ พระหน่อคิดจิตวาบระหวาบหวาม พระหน่อตรึกนึกคะเนคะนึงความ พระหน่อนามแจ้งกระจัดกระจ่างใจ. (ชุมนุมตำรากลอน).