ค้นเจอ 207 รายการ

ยาม,ยาม-

หมายถึง[ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).

เย็น

หมายถึงน. เวลาใกล้คํ่า ประมาณ ๑๖-๑๘ นาฬิกา.

เย็น

หมายถึงว. มีความรู้สึกตามผิวหนังเหมือนถูกน้ำแข็งเป็นต้น, หนาว, หายร้อน, ตรงข้ามกับ ร้อน; ไม่รู้สึกกระวนกระวาย เช่น เย็นใจ.

เรือยาม

หมายถึงน. เรือที่จัดให้อยู่เวรยาม เพื่อการเฝ้าตรวจ เช่น เรือยามเรดาร์ หรือเพื่อการใช้สอยทั่วไป เช่น เรือยามข้ามฟาก.

ขานยาม

หมายถึง(โบ) ก. บอกเวลาเปลี่ยนชั่วโมง.

เฝ้ายาม

หมายถึงก. เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา.

หนาว

หมายถึงว. เย็นจัด, อาการที่รู้สึกเย็นจัด.

ชาเย็น

หมายถึงว. แสดงอาการเฉยเมยไม่สนใจใยดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาแสดงอาการชาเย็น, เย็นชา ก็ว่า.

เย็นเจี๊ยบ

หมายถึงว. เย็นมาก เช่น น้ำแข็งเย็นเจี๊ยบ.

พุโธ

หมายถึง(โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).

โสโร

หมายถึง(โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยาม ในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).

ชีโว

หมายถึง(โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ