ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ยา, ยาดำ, ยาดา, ศุโกร, ยาด, ยาตร,ยาตรา, นิยาม, เวียน, พุโธ, ศุกระ, เสารี, อธิบดี
ดม
หมายถึงก. ใช้จมูกสูดกลิ่น, สูดเอากลิ่น, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ดอม เป็น ดมดอม หรือ ดอมดม.
หลักการอ่านคำกริยา 3 ช่อง Regular Verbs (ที่เติม -ed)
ยา
หมายถึงน. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบำรุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดำ เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียกตามวิธีทำก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยากวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมีสำหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทำให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคำว่า เยียวยา; ทำให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคำ พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
ดอม
หมายถึงน. เครื่องหอม. ก. ดม, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ดม เป็น ดอมดม หรือ ดมดอม.
เยี่ยวอูฐ
หมายถึงน. ยาดมชนิดหนึ่ง มีองค์ประกอบเป็นเม็ดแอมโมเนียมคาร์บอเนตผสมนํ้าแอมโมเนียและสารหอมบางอย่าง ใช้สูดดมแก้อาการวิงเวียน.
ยามา
หมายถึงน. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุยามเป็นผู้ครอง.
ยาปน,ยาปน-
หมายถึง[-ปะนะ-] น. การยังชีวิตให้เป็นไป. (ป., ส. ยาปน ว่า การยัง...ให้เป็นไป).
จับมือใครดมไม่ได้
หมายถึง(สำ) ก. หาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้.
อุดม,อุดม-
หมายถึง[-ดม, -ดมมะ-] ว. สูงสุด, ยิ่ง, เลิศ, มากมาย, บริบูรณ์. (ป., ส. อุตฺตม).
ยาขัด
หมายถึงน. สิ่งที่ใช้ขัดโลหะ หนัง หรือกระเบื้อง เป็นต้น.
ยาซัด
หมายถึงน. เรียกสิ่งที่ใส่ลงในเบ้าที่หลอมโลหะในการเล่นแร่แปรธาตุ เช่น กำมะถัน ว่า ยาซัด, เรียกอาการเช่นนั้นว่า ซัดยา.
ยาประสะ
หมายถึงน. ยาประเภทหนึ่งซึ่งตามปรกติเข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นตัวหลัก มีปริมาณเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ อีกหลายอย่างรวมกัน เรียกชื่อตามเครื่องยาที่เป็นหลัก เช่น ยาประสะขิง คือ เข้าขิงครึ่งหนึ่งกับเครื่องยาอื่น ๆ อีกครึ่งหนึ่ง แต่มีบางชนิดเครื่องยาที่เป็นตัวหลักมีปริมาณไม่ถึงครึ่งหนึ่งของเครื่องยาทั้งหมด เช่น ยาประสะกานพลู.
ยาหม้อ
หมายถึงน. ยาไทยที่ประกอบด้วยสมุนไพร กระดูกสัตว์ และเครื่องยาอื่น ๆ ใส่หม้อต้มแล้วกินน้ำที่เคี่ยวจนงวดเพื่อบำบัดโรค.