ค้นเจอ 13 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา มัชฌ,มัชฌ-

มัชฌิม,มัชฌิม-

หมายถึง[มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-, มัดชิม-] ว. ปานกลาง. (ป. มชฺฌิม).

มัชฌิมยาม

หมายถึง[มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. (ป.).

มัชฌ,มัชฌ-

หมายถึง[มัดชะ-] น. ท่ามกลาง. (ป.; ส. มธฺย).

มัชฌิมาปฏิปทา

หมายถึงน. ทางสายกลาง. (ป.).

มัชฌันติกสมัย

หมายถึงน. เวลาเที่ยงวัน. (ป.).

มัชฌิมภูมิ

หมายถึง[-พูม] น. ภูมิหรือชั้นของคนชั้นกลาง, ในคณะสงฆ์หมายถึงภิกษุที่มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕, ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ, และชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).

มัชฌิมนิกาย

หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๒ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดปานกลาง รวบรวมพระสูตรขนาดปานกลางไว้ในหมวดนี้. (ป.).

มัชฌิมบุรุษ

หมายถึงน. ชายที่มีวัยปานกลาง, ชายที่มีอายุและกำลังปานกลาง.

มัชฌิมประเทศ

หมายถึง[มัดชิมะ-, มัดชิม-] น. ประเทศอินเดีย, ตามแบบหมายถึงอินเดียตอนกลาง.

มัชฌันติก,มัชฌันติก-

หมายถึง[มัดชันติกะ-] น. เวลาเที่ยงวัน, คู่กับ วิมัชฌันติก ว่า เวลาเที่ยงคืน. (ป.).

มัชฌิมชนบท

หมายถึงน. ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุมของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.

มัชฌิมวัย

หมายถึง[มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. วัยกลางคน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ