ค้นเจอ 21 รายการ

มนัส,มนัส-

หมายถึง[มะนัด, มะนัดสะ-] น. ใจ (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์หลังมักเป็น มโน, ดู มโน). (ส.).

มนต์,มนตร์

หมายถึงน. คำศักดิ์สิทธิ์, คำสำหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคล เช่น สวดมนต์, คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เช่น ร่ายมนตร์ เวทมนตร์. (ป. มนฺต; ส. มนฺตฺร).

ขัดตำนาน

หมายถึงก. สวดบทนำเป็นทำนองก่อนสวดมนต์.

ทำวัตรเช้า

หมายถึงก. ไหว้พระสวดมนต์ในตอนเช้า.

ทำวัตรค่ำ

หมายถึงก. ไหว้พระสวดมนต์ในตอนเย็นหรือคํ่า.

ชัปนะ

หมายถึง[ชับปะนะ] (แบบ) น. การพูดพึมพำ, การสวดมนต์พึมพำ. (ป., ส. ชปน).

หอฉัน

หมายถึงน. อาคารที่สร้างขึ้นในวัด เป็นที่สำหรับพระภิกษุสามเณรนั่งฉันอาหารและทำวัตรสวดมนต์เป็นต้น.

ศาสนกิจ

หมายถึงน. งานทางศาสนาที่ภิกษุสามเณรเป็นต้นปฏิบัติ เช่น การทำวัตรสวดมนต์และการเผยแผ่ศาสนาเป็นศาสนกิจของสงฆ์.

อาราธนาพระปริตร

หมายถึงก. ขอนิมนต์ให้พระสงฆ์สวดมนต์ โดยกล่าวคำเป็นภาษาบาลีว่า วิปตฺติปฏิพาหาย ... ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ.

ธรรมายตนะ

หมายถึง[ทำมายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจ ได้แก่อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน).

หมุบหมิบ

หมายถึงว. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากหมุบหมิบ สวดมนต์หมุบหมิบ, ขมุบขมิบ ก็ว่า.

กระหมุบกระหมิบ

หมายถึงก. หมุบหมิบ, อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง, เช่น ทำปากกระหมุบกระหมิบ สวดมนต์กระหมุบกระหมิบ. (แผลงมาจาก ขมุบขมิบ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ