ค้นเจอ 11 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ภาณี, ภาชนะ, ใบ, พลาสติก, ที่, ภัณฑนะ

ภาณ,ภาณ-

หมายถึง[พาน, พานะ-] (แบบ) น. การบอก, การกล่าว, การสวด. (ป.).

ชนก,ชนก-

หมายถึง[ชะนก, ชะนะกะ-] น. ชายผู้ให้เกิด, พ่อ. (ป., ส.).

ภาณกะ

หมายถึง[พานะกะ] (แบบ) น. ผู้สวด, ผู้กล่าว, ผู้บอก. (ป.).

ชนกลุ่มน้อย,ชนหมู่น้อย

หมายถึงน. ชนต่างเผ่าหรือต่างเชื้อชาติที่อยู่อาศัยรวมกันกับชนเผ่าอื่นหรือเชื้อชาติอื่นที่มีจำนวนมากกว่า.

เผ่า

หมายถึงน. เหล่ากอ, กลุ่มชนเชื้อชาติเดียวกัน (มักใช้แก่ชนกลุ่มน้อยของประเทศ) เช่น ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ.

นนทลี

หมายถึง[นนทะลี] น. แม่ เช่น สี่ไทธิเบศร์วรดิลก ชนกแลนนทลี. (สมุทรโฆษ).

กรรมาชีพ

หมายถึง[กำ-] น. คำเรียกชนชั้นกรรมกรหรือลูกจ้างผู้หาเลี้ยงชีพด้วยค่าจ้างแรงงานว่า ชนกรรมาชีพ. (อ. proletariat).

ชอง

หมายถึงน. ชื่อชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในตระกูลมอญ-เขมร มีมากทางตอนเหนือของจังหวัดจันทบุรี, เรียกตัวเองว่า สำเร หรือ ตำเหรด, เขมรเรียกว่า พวกปอร.

โคล

หมายถึง[โคน] น. ชนกลุ่มหนึ่งในประเทศอินเดียฝ่ายใต้ เช่น ผู้สืบสัมพันธ์โคตรเค้าโคลตระกูล ทิชาเชื้อชาติธชีชูชก. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

อง

หมายถึงน. คำนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ญวน เช่น องเชียงสือ องเชียงชุน, คำนำหน้าสมณศักดิ์พระสงฆ์อนัมนิกายชั้นปลัดขวาปลัดซ้ายและพระคณานุกรม เช่น องสรภาณมธุรส องสุตบทบวร. (ญ.).

ภาษา

หมายถึงน. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและแต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาจาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ