ค้นเจอ 215 รายการ

รท,รทนะ

หมายถึง[รด, ระทะนะ] น. ฟัน, งา, เช่น ทวิรท = สัตว์ ๒ งา คือ ช้าง. (ป., ส.).

ฟันฟาง

หมายถึงน. ฟาง, ฟันที่เข้าใจว่าขึ้นแทนฟันแท้ที่หักไป, ฟัน เช่น ฟันฟางไม่ค่อยดี กินของเหนียวของแข็งไม่ได้.

ฟาง

หมายถึงน. ฟันที่เข้าใจว่าขึ้นแทนฟันแท้ที่หักไป, มักใช้เข้าคู่กับคำ ฟัน เป็น ฟันฟาง.

เขี้ยว

หมายถึงน. ฟันแหลมคมสำหรับฉีกเนื้อและอาหาร อยู่ระหว่างฟันหน้ากับกราม, ราชาศัพท์ว่า พระทาฐะ หรือ พระทาฒะ, (ถิ่น-พายัพ) ฟัน.

องค-

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

ฟัน

หมายถึงก. เอาของมีคมเช่นดาบฟาดลงไป, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาสันมือฟันอิฐ.

ฟัน

หมายถึงน. กระดูกเป็นซี่ ๆ อยู่ในปากสำหรับกัด ฉีกเคี้ยวอาหาร, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฟันเลื่อย ฟันจักร.

เบาะ ๆ

หมายถึงว. อาการที่ตี ฟัน หรือทุบเป็นต้นแต่เบา ๆ เช่น ตีเบาะ ๆ.

ขวาน

หมายถึง[ขฺวาน] น. เครื่องมือสำหรับตัด ฟัน ผ่า ถากไม้ ทำด้วยเหล็กมีสันหนาใหญ่, ถ้าบ้องที่หัวบิดได้สำหรับตัดและถาก เรียกว่า ขวานโยน, ขวานปูลู หรือ ขวานปุลู ก็เรียก, ถ้าด้ามสั้น สันหนา มีบ้องยาวตามสัน เป็นเครื่องมือของช่างไม้ ใช้ตัด ถาก ฟัน เรียกว่า ขวานหมู, ถ้าด้ามยาว ใบขวานใหญ่ เรียกว่า ขวานผ่าฟืน; หมอนที่ทำหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายขวาน ใช้อิง เรียกว่า หมอนขวาน.

ซี่

หมายถึงน. คำเรียกของเล็ก ๆ ยาว ๆ ที่เรียงกันเป็นแถวเป็นแนวอย่างฟันหรือลูกกรง, ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ฟันซี่หนึ่ง ฟัน ๒ ซี่.

จวก

หมายถึงก. สับหรือฟันโดยแรงด้วยจอบเป็นต้น, (ปาก) โดยปริยายหมายถึงตี ฟัน ชกต่อยผู้อื่นโดยแรง หรือว่าร้ายด้วยวาจา.

ตจปัญจกกรรมฐาน

หมายถึง[ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไปถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ