ค้นเจอ 11 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา สนธิ, ฉบับ, อนุกรม, ฐานานุกรม

พจนานุกรม

หมายถึง[-กฺรม] น. หนังสือว่าด้วยถ้อยคำในภาษาใดภาษาหนึ่ง เรียงตามลำดับตัวอักษร โดยทั่ว ๆ ไปจะบอกความหมายและที่มาของคำเป็นต้นด้วย.

สนธิ

หมายถึงน. ที่ต่อ, การติดต่อ; การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาเชื่อมเสียงให้กลมกลืนกันตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น พจน + อนุกรม เป็น พจนานุกรม ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์ นว + อรห + อาทิ + คุณ เป็น นวารหาทิคุณ. (ป., ส.).

ฉบับ

หมายถึง[ฉะ-] น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสำนวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือเขียน เรียกว่า ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกหนังสือเล่มหรือหนังสือเป็นแผ่นที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ เช่น จดหมาย ๓ ฉบับ สลากกินแบ่ง ๕ ฉบับ หนังสือสัญญา ๒ ฉบับ. (ข. จฺบาบ่).

อนุกรม

หมายถึง[อะนุกฺรม] น. ลำดับ, ระเบียบ, ชั้น, เช่น โดยอนุกรม, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น พจนานุกรม ปทานุกรม นามานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม. (ส. อนุกฺรม; ป. อนุกฺกม).

ทั้งนี้

หมายถึงสัน. ตามที่กล่าวมานี้ เช่น ทั้งนี้กล่าวตามที่เขาบันทึกไว้หรือกล่าวตามพจนานุกรม.

นามานุกรม

หมายถึง[-นุกฺรม] น. พจนานุกรมคำวิสามานยนาม.

อ้างอิง

หมายถึงก. ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน, ยกมากล่าวเป็นหลัก, เช่น ในการให้ความหมายของคำ เขามักอ้างอิงพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. ว. ที่ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน เช่น พจนานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิง เอกสารอ้างอิง.

ได้แก่

หมายถึงสัน. คือ, เท่ากับ, เช่น หนังสือสำหรับค้นความหมายของคำที่เรียงลำดับตามตัวอักษร ได้แก่พจนานุกรม.

คำตั้ง

หมายถึงน. คำที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมายในการทำพจนานุกรม; คำที่เป็นหลักให้คำอื่นที่เติมเข้ามาต่อ จะเติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลังก็ได้ ในภาษาคำติดต่อ.

ชำระ

หมายถึงก. ชะล้างให้สะอาด เช่น ชำระร่างกาย; สะสาง, ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น, เช่น ชำระพระไตรปิฎก ชำระพจนานุกรม; พิจารณาตัดสิน เช่น ชำระความ; ใช้ในคำว่า ชำระหนี้.

วงเล็บเหลี่ยม

หมายถึงน. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กันคำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะหนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน, เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอกคำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนง, ใช้กันข้อความในการเขียนบรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏในหนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐานยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 - 3{x + 5 - 4(x + 1)}] = 23, ใช้ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อแสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F-2] = 1.05.10-6, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]·2H2O.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ