ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ธุม,ธุม-, ขวัญ, ควัน, ปรัน, ธุมา, วัน, สัตวาร, ทิน,ทิน,ทิน-, ทิพา, ทุเลา
ป
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคำหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤตมักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.
Wordy Guru แอปเดียว รวมทุกศัพท์
"ปรากฏ" กับ "ปรากฎ" คำไหนที่ถูกต้อง
คำไวพจน์ ไฟ - คำคล้าย ไฟ
คำไวพจน์ ดอกบัว | คำคล้าย ดอกบัว
ประ,ประ-,ประ-
หมายถึง[ปฺระ] ใช้เติมหน้าคำอื่นเพื่อให้คำหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง; คำที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร เช่น ประทม เป็น บรรทม.
ปริ,ปริ-,ปริ-
หมายถึง[ปะริ-] เป็นอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต, ใช้นำหน้าศัพท์อื่นแปลว่า รอบ เช่น ปริมณฑล.
ปโย,ปโย-
หมายถึงน. นํ้านม, นํ้า. (ป., ส. ปย), ที่เป็น ปโย เพราะเข้าสมาสกับศัพท์ที่มีพยัญชนะตัวหน้าเป็นอักษรตํ่าหรือตัว ห ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ประตาป
หมายถึงน. ประดาป.
ปาป,ปาป-
หมายถึง[ปาปะ-] น. บาป. (ป., ส.).
ถูป,ถูป-
หมายถึง[ถูปะ-] (แบบ) น. เจดีย์ซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา มีกระดูกของบุคคลที่นับถือเป็นต้น. (ป.).
ปริกัลป,ปริกัลป-
หมายถึง[ปะริกันละปะ-] น. ความตรึก, ความดำริ, ความกำหนดในใจ. (ส. ปริกลฺป; ป. ปริกปฺป).
ปรม,ปรม-
หมายถึง[ปะระมะ-, ปอระมะ-] ว. อย่างยิ่ง (ใช้นำหน้าคำอื่นโดยมาก). (ป.).
บถ
หมายถึง(แบบ) น. ทาง เช่น กรรมบถ. (ป. ปถ).
สารัมภ์
หมายถึงก. เริ่ม. (ป.).
ทิวสภาค
หมายถึงน. ส่วนของวัน. (ป.).