ตัวกรองผลการค้นหา
แขนง
หมายถึง[ขะแหฺนง] ก. แหนง, แคลง, เช่น และแขนงหฤทัยนาง. (ม. คำหลวง มัทรี); ใช้ในการต่อของให้ราคาตํ่า ถือเป็นลางบอกว่าจะขายไม่ได้ราคาดีต่อไป.
หมายถึง[ขะแหฺนง] น. กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แตกใหม่จากลำของไม้พวกไม้ไผ่, กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แยกออกจากกิ่งใหญ่, โดยปริยายหมายถึงส่วนย่อยที่แยกจากส่วนใหญ่ เช่น วิชาฟิสิกส์เป็นแขนงหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์.
นิกาย
หมายถึงน. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน ที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียกคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).
หมายถึงดู เต่าเหลือง.
ขุทกนิกาย
หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดเล็กน้อย รวบรวมข้อธรรมะที่ไม่อยู่ใน ๔ นิกายข้างต้น มี ๑๕ เรื่อง ซึ่งมีธรรมบทและชาดก รวมอยู่ในคัมภีร์นี้ด้วย.
สังยุตนิกาย
หมายถึง[สังยุดตะ-] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๓ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดประมวล คือ ประมวลเรื่องประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันทั้งหมด.
รามัญนิกาย
หมายถึงน. ชื่อพระสงฆ์นิกายหนึ่งซึ่งสืบสายมาจากพระสงฆ์มอญ.
สารานุกรม
หมายถึงน. หนังสือที่รวบรวมความรู้ทุกแขนงหรือเฉพาะแขนงใดแขนงหนึ่ง มักเรียงตามลำดับอักษร.(อ. encyclopaedia).
มหานิกาย
หมายถึงน. ชื่อคณะสงฆ์นิกายหนึ่ง, คู่กับ ธรรมยุติกนิกาย.
อุตรนิกาย
หมายถึง[อุดตะระ-] น. ชื่อนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนา คือ นิกายฝ่ายเหนือ ซึ่งเรียกว่า มหายาน. (ป., ส. อุตฺตรนิกาย).
ศักติ
หมายถึงน. ชื่อนิกายใหญ่นิกายหนึ่งใน ๓ นิกายของศาสนาฮินดู (คือ นิกายไวษณพ ไศวะ และศักติ) บูชาเทวีซึ่งโดยมากหมายเอาพระทุรคาผู้เป็นศักติ เป็นศรี หรือเป็นชายาของพระศิวะ.
อังคุตรนิกาย
หมายถึง[-คุดตะระ-] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงหลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.