ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ทัศน์, ทันต์
ทัศ
หมายถึง(แบบ) ว. สิบ เช่น ทัศนัข. (ส.); ครบ, ถ้วน, เช่น บารมี ๓๐ ทัศ.
ทัศน
หมายถึง[ทัดสะนะ-] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. (ป. ทสฺสน; ส. ทรฺศน).
ทัศน-
มนต์,มนตร์
หมายถึงน. คำศักดิ์สิทธิ์, คำสำหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคล เช่น สวดมนต์, คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เช่น ร่ายมนตร์ เวทมนตร์. (ป. มนฺต; ส. มนฺตฺร).
ทัศนศิลป์
หมายถึงน. ศิลปกรรมประเภทหนึ่งซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะที่เป็นรูปภาพหรือรูปทรง รับรู้ได้ด้วยการเห็นและสัมผัสได้ด้วยการจับต้อง เช่น ภาพจิตรกรรม ภาพพิมพ์ งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรม.
ขัดตำนาน
หมายถึงก. สวดบทนำเป็นทำนองก่อนสวดมนต์.
ทำวัตรเช้า
หมายถึงก. ไหว้พระสวดมนต์ในตอนเช้า.
ทำวัตรค่ำ
หมายถึงก. ไหว้พระสวดมนต์ในตอนเย็นหรือคํ่า.
จิตรกรรม
หมายถึงน. ศิลปะประเภทหนึ่งในทัศนศิลป์เกี่ยวกับการเขียนภาพวาดภาพ, รูปภาพที่เขียนหรือวาดขึ้น. (ส.).
ชัปนะ
หมายถึง[ชับปะนะ] (แบบ) น. การพูดพึมพำ, การสวดมนต์พึมพำ. (ป., ส. ชปน).
ศิลปธาตุ
หมายถึงน. สิ่งที่เป็นส่วนประกอบร่วมในการสร้างสรรค์งานศิลปะ โดยเฉพาะงานประเภททัศนศิลป์ ได้แก่ เส้น สี ผิว เป็นต้น.
หอฉัน
หมายถึงน. อาคารที่สร้างขึ้นในวัด เป็นที่สำหรับพระภิกษุสามเณรนั่งฉันอาหารและทำวัตรสวดมนต์เป็นต้น.