ค้นเจอ 15 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ฉบับ, ลอก, ต้นแบบ

ต้นฉบับ

หมายถึงน. ฉบับจริงของเรื่องที่ประพันธ์ไว้เดิม, ฉบับที่เขียนหรือดีดพิมพ์ไว้เดิมก่อนตีพิมพ์, ต้นสำเนา.

ฉบับ

หมายถึง[ฉะ-] น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสำนวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือเขียน เรียกว่า ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกหนังสือเล่มหรือหนังสือเป็นแผ่นที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ เช่น จดหมาย ๓ ฉบับ สลากกินแบ่ง ๕ ฉบับ หนังสือสัญญา ๒ ฉบับ. (ข. จฺบาบ่).

ทาน

หมายถึงก. สอบหนังสือให้ตรงกับต้นฉบับ.

คัดสำเนา

หมายถึงก. ลอกข้อความเป็นต้นจากต้นแบบหรือต้นฉบับ.

เรียงพิมพ์

หมายถึงก. เอาตัวพิมพ์มาเรียงตามต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์.

ถ่ายสำเนา

หมายถึงก. ถ่ายข้อความหรือภาพเป็นต้นจากต้นแบบหรือต้นฉบับด้วยเครื่องถ่ายเอกสาร.

สอบทาน

หมายถึงก. ตรวจสอบหนังสือ ข้อความ หรือตัวเลข ให้ตรงกับต้นฉบับหรือถ้อยคำที่บอกเป็นต้น.

ห้องสมุด,หอสมุด

หมายถึงน. ห้องหรืออาคารที่มีระบบจัดเก็บรวบรวมรักษาหนังสือประเภทต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมทั้งต้นฉบับ ลายมือเขียน ไมโครฟิล์ม เป็นต้น เพื่อใช้เป็นที่ค้นคว้าหาความรู้.

โยชนา

หมายถึง[โยชะนา] น. ชื่อคัมภีร์บาลีประเภทหนึ่ง ซึ่งบอกสัมพันธ์ศัพท์บาลีว่า ศัพท์ไหนเข้ากับศัพท์ไหนในต้นฉบับนั้น ๆ เช่น โยชนาฎีกาสังคหะ. (ป.).

สำเนา

หมายถึงน. ข้อความหรือภาพเป็นต้นที่ผลิตซํ้าจากต้นแบบหรือต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกจำนวนแผ่นหรือชุดที่ผลิตซํ้าจากต้นแบบหรือต้นฉบับ. ก. คัดหรือถ่ายข้อความหรือภาพเป็นต้นจากต้นแบบหรือต้นฉบับ เช่น ก่อนส่งใบเสร็จรับเงินไปให้ลูกค้า ควรสำเนาไว้ก่อน.

พิมพ์เขียว

หมายถึงก. พิมพ์สำเนาโดยการฉายแสงผ่านต้นฉบับที่เป็นกระดาษบาง ๆ ลงบนกระดาษที่เคลือบสารเคมีซึ่งไวต่อแสง ให้ปรากฏเป็นลวดลายสีขาวบนพื้นสีนํ้าเงินหรือลวดลายสีนํ้าเงินบนพื้นขาว. น. สำเนาที่ทำขึ้นโดยวิธีการเช่นนี้. (อ. blueprint).

คัด

หมายถึงก. เลือก, แยกสิ่งที่รวมกันอยู่, เช่น คัดออก คัดเอาไว้, งัดให้เผยอหรือเคลื่อนที่ เช่น คัดไม้ซุง, ใช้พายหรือแจวงัดนํ้าออกจากตัว, ตรงข้ามกับ วาดเรือ; ลอกข้อความหรือลวดลายออกมาจากต้นฉบับ เช่น เอาหนังสือนี้ไปคัด. (อะหม คัด ว่า แยก, ทำให้แยก).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ