ค้นเจอ 30 รายการ

ต่อหน้า,ต่อหน้าต่อตา

หมายถึงว. ซึ่งหน้า, เฉพาะหน้า.

ซึ่งหน้า,ซึ่ง ๆ หน้า

หมายถึงว. ต่อหน้า เช่น กระทำความผิดซึ่งหน้า.

ต่อ

หมายถึงก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาวออกไป เช่น ต่อเชือก; ทำให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทำด้วยไม้กระดานโดยนำมาต่อขึ้นเป็นรูปเรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิดขึ้นตามส่วนเช่นเรือสำปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทำให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนันโดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่ายเห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นำสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่า ในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ออกจะ, น่าจะ, ท่าจะ, เช่น มันต่อจะชอบกลเจ้ามณฑา. (สังข์ทอง); ถัดไป, สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นำไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อมเข้าด้วยกัน เช่น คำต่อ (คือ คำบุรพบทและคำสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออำเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, ราย, เช่น ต่อคน ต่อปี; เทียบส่วนกัน เช่น ๓ ต่อ ๑; ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้นักเรียน ครูเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.

เฉพาะพระพักตร์

หมายถึง(ราชา) ว. ต่อหน้า.

ประจันหน้า

หมายถึงก. เผชิญหน้ากัน, อยู่ต่อหน้ากัน.

ฉกฉวย

หมายถึงก. ยื้อแย่งเอาไปต่อหน้า.

ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก

หมายถึง(สำ) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือหาทางทำร้าย, หน้าไหว้หลังหลอก ก็ว่า.

ลบเหลี่ยม

หมายถึงก. ทำให้เสียชั้นเชิง เสียเกียรติ หรือเสียความเชื่อถือ ต่อหน้าผู้อื่นหรือต่อหน้าชุมนุมชน.

เพิกเฉย

หมายถึงก. ไม่เอาใจใส่, ละเลย, ไม่นำพา, เช่น เพิกเฉยต่อหน้าที่.

หายวับไปกับตา

หมายถึง(สำ) ก. หายไปอย่างฉับไวต่อหน้าต่อตา.

ลับหลัง

หมายถึงว. ไม่ใช่ต่อหน้า เช่น นินทาลับหลัง ว่าร้ายลับหลัง.

สันนิธิ

หมายถึงน. การสะสม, การรวบรวม; ที่ใกล้, ที่ต่อหน้า. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ