ค้นเจอ 209 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา กระชง, ดรงค์, ตรัง

ตรังค,ตรังค-,ตรังค์

หมายถึง[ตะรังคะ-, ตะรัง] (แบบ) น. ลูกคลื่น. (ป., ส.).

ตรัง

หมายถึง[ตฺรัง] (โบ) ก. ติดอยู่ เช่น สิ่งสินตรังตรา. (ม. คำหลวง มหาราช), ต้องกวางทรายตายเหลือตรัง. (อนิรุทธ์).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น โรค มรรค มารค เทคนิค.

ปลวังค,ปลวังค-

หมายถึง[ปะละวังคะ-] (แบบ) น. ลิง เช่น ปลวังคสังวัจฉร. (ส. ปฺลวงฺค).

คต,-คต

หมายถึง[-คะตะ, -คด] ก. ถึงแล้ว, ไปแล้ว, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ตถาคต สุคต สวรรคต ทิวงคต. (ป.).

ชค,ชค-

หมายถึง[ชะคะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน เช่น ชคสัตว์ ว่า สัตว์ที่อาศัยแผ่นดิน. (ป., ส.).

คช,คช-

หมายถึง[คดชะ-] (แบบ) น. ช้าง, ช้างพลาย. (ป., ส.).

องค-

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

องค

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

คณ,คณ-,คณะ

หมายถึง[คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะ แต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).

โยค,โยค-,โยคะ

หมายถึง[โยคะ-] น. การประกอบ, การใช้, การร่วม; กิเลส; ความเพียร; วิธีบำเพ็ญสมาธิตามลัทธิของอาจารย์ปตัญชลี; (โหร) การที่ดาวนพเคราะห์ตั้งแต่ ๒ ดวงขึ้นไปมารวมกันในราศีเดียว. (ป., ส.).

รงค,รงค-,รงค์

หมายถึง[รงคะ-, รง] น. สี, นํ้าย้อม; ความกำหนัด, ตัณหา, ความรัก; ที่ฟ้อนรำ, โรงละคร; สนามรบ, ลาน. (ป., ส. รงฺค).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ