ค้นเจอ 22 รายการ

ญาณ,ญาณ-

หมายถึง[ยาน, ยานะ-, ยานนะ-] น. ปรีชาหยั่งรู้หรือกำหนดรู้ที่เกิดจากอำนาจสมาธิ, ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ. (ป.; ส. ชฺาน).

โรจ,โรจน์

หมายถึงว. รุ่งเรือง, สว่าง, สุกใส. (ป., ส.).

เล็งญาณ

หมายถึงก. พิจารณาเห็นแจ้งด้วยปัญญาที่เกิดจากสมาธิ.

สรรเพชุดาญาณ

หมายถึงน. ญาณหรือปัญญาที่รู้ทุกสิ่ง หมายเอาญาณของพระพุทธเจ้า. (ส. สรฺวชฺาน; ป. สพฺพญฺญุตาณ).

รักขิต

หมายถึงก. ระวัง, ดูแล, รักษา, (มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส) เช่น พุทธรักขิต ญาณรักขิต. (ป.).

ทายาด

หมายถึงว. ยวดยิ่ง, ยิ่งยวด, เช่น ทนทายาด, พระญาณสมเด็จทรง ทายาด. (ยวนพ่าย).

อภิสัมโพธิญาณ

หมายถึง[อะพิสำโพทิยาน] น. ญาณคือความตรัสรู้เองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายเฉพาะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า.

นักสราช

หมายถึง[นักสะราด] น. ตำแหน่งคนถือธงท้ายเรือพระที่นั่งพาย. (วชิรญาณ).

ไตรโลกย์

หมายถึง(โบ) น. ประชุมโลก ๓ เช่น อันว่าพระไตรโลกย์ครู สวยมภูญาณนายก. (ม. คำหลวง สักบรรพ). (ส.).

อภิญญา

หมายถึง[อะพินยา] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

อภิญญาณ

หมายถึง[อะพินยาน] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

กังเวียน

หมายถึงน. ขอบผ้าปกกระพองช้าง เช่น จัดพาดกังเวียนวาง ห่อได้. (ตำราช้างคำโคลง-วชิรญาณ เล่ม ๒๑).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ