ตัวกรองผลการค้นหา
ซุป
หมายถึงน. อาหารนํ้าชนิดหนึ่ง ต้มด้วยเนื้อสัตว์หรือผัก เป็นต้น. (อ. soup).
คำไวพจน์: วัว - คำไวพจน์ของ วัว พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
วัว
หมายถึงน. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bos taurus ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์กีบคู่ ลำตัวมีสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาล นวล เขาโค้ง สั้น มีเหนียงห้อยอยู่ใต้คอถึงอก ขนปลายหางเป็นพู่, โค ก็เรียก, (ปาก) งัว.
หมายถึงดู งัว ๕.
หาง
หมายถึงน. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลำตัวสัตว์, ขนสัตว์จำพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ในราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้งเช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วนที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.
วัวเถลิง
หมายถึงน. วัวเปลี่ยว, วัวหนุ่ม.
วัวเขาเกก
หมายถึงน. วัวที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, ควายเขาเกก ก็ว่า.
หางกวัก
หมายถึง[-กฺวัก] น. หางที่มีปลายงอลง (ใช้แก่แมว) ถือว่าเป็นมงคล.
หางงอ
หมายถึงน. หางที่ปลายงอขึ้น (ใช้แก่หมาและแมว).
หางนม
หมายถึงน. น้ำนมที่เอาครีมส่วนใหญ่ออกแล้ว.
ปลาหาง
หมายถึง(ราชา) น. ปลาช่อน.
วาลธิ
หมายถึง[วาละ-] น. หาง, ขนหาง. (ป.).
วัวพันหลัก
หมายถึง(สำ) ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี.