ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ชักเย่อ
เย่อ
หมายถึงก. เอามาด้วยแรงบังคับโดยการฉุดรั้งแย่งกัน, ใช้แรงฉุดรั้งดึงกันไปมา.
การใช้คะ ค่ะ นะคะ นะค่ะ
คำไวพจน์: กวาง - คำไวพจน์ของ กวาง พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
ชัก
หมายถึงก. ดึงสายเชือกเป็นต้นที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สิ่งนั้นเคลื่อนไหวไปตามต้องการ เช่น ชักว่าว ชักรอก; ดึง, ดึงออกมา, ดึงขึ้น, เช่น ชักดาบออกจากฝัก ชักลิ้นชักโต๊ะ; ดึงเอามา เช่น ชักผ้าป่า ชักผ้าบังสุกุล; ดึงออกแล้วดันเข้า เช่น ชักสูบ ชักเข้าชักออก; นำ เช่น ชักนํ้าเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน; นำเอามาอ้าง, ยกเอามาอ้าง, เช่น ชักตัวอย่าง; เอาออก, หักออก, เช่น ชักค่าอาหาร ชักค่านายหน้า; ขยายแนวให้ยืดออก เช่น ชักปีกกา ชักกำแพง; สี เช่น ชักซอ; กระตุก เช่น ชักจ้องหน่อง. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ชักโกรธ ชักหิว.
หมายถึงก. อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกอย่างกะทันหันและรุนแรง มักมีอาการมือเท้าเกร็ง.
คะ
หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ค เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ครื้นครื้น กร่อนเป็น คะครื้น โครมโครม กร่อนเป็น คะโครม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำเน้นคำ.
หมายถึงว. คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อจากคำถามหรือคำแสดงความสงสัยเพื่อแสดงความสุภาพ เช่น อะไรคะ กระมังคะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อจากคำ ซิ นะ เพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เชิญซิคะ ไปนะคะ.
ชักสีหน้า
หมายถึงก. ทำสีหน้าโกรธไม่พอใจ, ชักหน้า ก็ว่า.
ชักครอก
หมายถึง[-คฺรอก] น. เรียกลูกปลาจำพวกปลาช่อนที่ตามพ่อเป็นฝูง ๆ ว่า ลูกชักครอก, ลูกครอก ก็ว่า.
ชักใย
หมายถึง(สำ) ก. บงการอยู่เบื้องหลัง.
ชักรอก
หมายถึงก. อาการที่ทำให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเคลื่อนผ่านร่องของรอกเพื่อยก ลาก หรือดึงของหนักหรือคนเป็นต้น ให้เบาแรงและสะดวกคล่องขึ้น. น. เรียกโขนที่ชักรอกผู้แสดง เช่น หนุมาน เบญกาย ขึ้นไปจากพื้นเวทีแสดงท่าเหาะว่า โขนชักรอก.
ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน
หมายถึง(สำ) ก. นำศัตรูเข้าบ้าน.
ภคะ
หมายถึง(แบบ) น. โชคดี, ความเจริญ, เกียรติ. (ป., ส.).
จาคะ
หมายถึงน. การสละ, การให้ปัน. (ป.; ส. ตฺยาค).