ค้นเจอ 12 รายการ

จารีต

หมายถึง[-รีด] น. ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน. (ป. จาริตฺต; ส. จาริตฺร).

จารีตนครบาล

หมายถึงก. ไต่สวนพิจารณาคดีด้วยการทรมานจำเลย.

จาร,จาร-,จาร-

หมายถึง[จาระ-] น. ผู้สอดแนม, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นในคำว่า จารกรรม จารชน จารบุรุษ จารสตรี. (ป., ส.).

จาระบี

หมายถึงน. นํ้ามันข้นเหนียวสำหรับหล่อลื่นและกันความสึกหรอของเครื่องจักรเป็นต้น, จระบี ก็ว่า. (ฮ. จรฺพี).

จารีตประเพณี

หมายถึงน. ประเพณีที่นิยมและประพฤติกันสืบมา ถ้าฝ่าฝืนถือว่าเป็นผิดเป็นชั่ว.

จารวาก

หมายถึง[จาระ-] น. ลัทธิโลกายัต. (ดู โลกายัต).

จาริก,จารึก,จารึก

หมายถึงน. ผู้ท่องเที่ยวไปเพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น. ก. ท่องเที่ยวไปเพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น.

จารุ

หมายถึง(แบบ) น. ทองคำ. ว. งาม, น่ารัก, สม, เหมาะ. (ป., ส.).

จารี

หมายถึงน. ผู้ประพฤติ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ธรรมจารี สัมมาจารี. (ป.).

จารึก

หมายถึงก. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นบนแผ่นศิลา โลหะ หรือดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จารึกไว้ในดวงใจ, ในบทกลอนหมายความว่า เขียนโดยทั่ว ๆ ไป ก็มี. น. เรียกศิลาที่จารึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นว่า ศิลาจารึก, เรียกสั้น ๆ ว่า จารึก เช่น จารึกอโศก จารึกสุโขทัย.

จาร

หมายถึง[จาน] ก. ใช้เหล็กแหลมเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นให้เป็นตัวหนังสือ เช่น จึงจารจารึกอันนี้ไว้อีกโสด. (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ). (จารึกสมัยสุโขทัย). น. เรียกเหล็กแหลมสำหรับเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นว่า เหล็กจาร. (ข.).

จาระไน

หมายถึงก. พูดชี้แจงอย่างละเอียดลออหรือถี่ถ้วน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ