ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา จตุรงคนายก, สามเส้า, ทะแย, ลัย,ลัย-, โอกาส, เมือง, ท้องที่, นิคหิต, จังหัน, เจ้าคณะ
สามเส้า
หมายถึงก. อาการที่นกเขาขันคูเป็น ๓ จังหวะ, สามกุก ก็ว่า. (พจน. ๒๔๙๓); ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
แปลเพลง Closer – The Chainsmokers ft. Halsey
จังหวะ
หมายถึงน. ระยะที่สมํ่าเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กำหนดไว้เป็นตอน ๆ เช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่าโอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ. (ข. จงวาก่).
ทะแย
หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยโบราณทำนองหนึ่ง มีมาแต่สมัยอยุธยา มีอัตรา ๒ ชั้น ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ท่อนที่ ๑ มี ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๒ มี ๖ จังหวะ.
จตุรงคนายก
หมายถึง[จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรคแบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน).
ลัย,ลัย-
หมายถึง[ไล, ไลยะ-] น. จังหวะ (ใช้แก่ดนตรี); ที่อาศัย โดยมากมักเติมอุปสรรคข้างหน้า เช่น อาลัย; การหายไป โดยมากมักเติมอุปสรรคข้างหน้า เช่น วิลัย บรรลัย. (ส.).
โอกาส
หมายถึง[-กาด] น. ช่อง, ทาง; เวลาที่เหมาะ, จังหวะ. (ป.; ส. อวกาศ).
จังหวะจะโคน
หมายถึง(ปาก) น. จังหวะ.
ระร่าย
หมายถึงก. เดินได้จังหวะ.
โยนยาว
หมายถึงน. จังหวะร้องเพลงขณะพายเรือจังหวะช้า.
ผิดท่า
หมายถึงก. ผิดจังหวะ.
ท่วงทำนอง
หมายถึงน. ลีลาที่เป็นไปตามจังหวะหรือทำนอง.
สองไม้
หมายถึงน. ทำนองเพลงที่ใช้หน้าทับทำจังหวะ.