ค้นเจอ 11 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา บรรณารักษ์

จรรยา

หมายถึง[จัน-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ เช่น จรรยาแพทย์, นิยมใช้ในทางดี เช่น มีจรรยา หมายความว่า มีความประพฤติที่ดี. (ส. จรฺยา; ป. จริยา).

รักษ์,รักษา

หมายถึงก. ระวัง เช่น รักษาสุขภาพ, ดูแล เช่น รักษาทรัพย์สมบัติ, ป้องกัน เช่น รักษาบ้านเมือง, สงวนไว้ เช่น รักษาความสะอาด รักษาไมตรี; เยียวยา เช่น รักษาคนไข้. (ส.; ป. รกฺข).

รักข์,รักขา

หมายถึงก. รักษ์, รักษา. (ป.; ส. รกฺษ).

อาจารี

หมายถึงน. ผู้มีจรรยา, ผู้ทำตามคติแบบแผน. (ส. อาจารินฺ).

อาจาร,อาจาร-

หมายถึง[-จาน, -จาระ-] น. ความประพฤติ, ความประพฤติดี; จรรยา, มรรยาท; ธรรมเนียม, แบบแผน, หลัก. (ป., ส.).

ทานบารมี

หมายถึง[ทานนะ-] น. จรรยาอย่างเลิศ คือ ทาน. (ป. ทานปารมี; ส. ทานปารมิตา).

ล่วงเกิน

หมายถึงก. แสดงอาการเกินสมควรต่อผู้อื่นโดยล่วงจารีตประเพณีหรือจรรยามารยาทด้วยการลวนลาม ดูหมิ่น สบประมาท เป็นต้น เช่น ไม่ควรล่วงเกินพ่อแม่ด้วยกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ.

สมุห์

หมายถึง[สะหฺมุ] น. หมู่, กอง, พวก. (ป.; ส. สมูห); หัวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ เช่น สมุหพระราชพิธี สมุหราชองครักษ์ สมุห์บัญชี; ตำแหน่งพระฐานานุกรมเหนือใบฎีกา เช่น พระสมุห์ พระครูสมุห์.

สมุห

หมายถึง[สะหฺมุหะ-] น. หมู่, กอง, พวก. (ป.; ส. สมูห); หัวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ เช่น สมุหพระราชพิธี สมุหราชองครักษ์ สมุห์บัญชี; ตำแหน่งพระฐานานุกรมเหนือใบฎีกา เช่น พระสมุห์ พระครูสมุห์.

สมุห-

หมายถึง[สะหฺมุหะ-] น. หมู่, กอง, พวก. (ป.; ส. สมูห); หัวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ เช่น สมุหพระราชพิธี สมุหราชองครักษ์ สมุห์บัญชี; ตำแหน่งพระฐานานุกรมเหนือใบฎีกา เช่น พระสมุห์ พระครูสมุห์.

สุญนิยม

หมายถึงน. (ศาสน) ลัทธิที่ถือว่าคนและสัตว์เกิดหนเดียว ตายแล้วสูญ บุญบาป พระเป็นเจ้า นรก สวรรค์ ไม่มี; (อภิปรัชญา) ลัทธิที่ถือว่าไม่มีอะไรตั้งอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวร; (จริย) ลัทธิที่ถือว่าคุณค่าทางศีลธรรมจรรยาไม่มี; (สังคม) ลัทธิที่ถือว่าความเจริญก้าวหน้าจะเกิดขึ้นได้ก็โดยวิธีทำลายองค์การทางสังคมที่มีอยู่เดิมให้หมดไป. (อ. nihilism).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ