ตัวกรองผลการค้นหา
แก้ฟ้อง
หมายถึง(กฎ) ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย; ยื่นคำให้การเป็นข้อต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง.
สำนวนจากละครบุพเพสันนิวาส
สำนวนไทย หมวด ก-ฮ
50 สำนวนสุภาษิตไทย
50 สำนวนไทย ที่ได้ยินบ่อย ๆ
ถอนคำฟ้อง,ถอนฟ้อง
หมายถึง(กฎ) ก. ยื่นคำร้องหรือคำบอกกล่าวต่อศาลแสดงความประสงค์ว่าจะไม่ดำเนินคดีที่ยื่นฟ้องไว้อีกต่อไป ในคดีแพ่งเรียกว่า ถอนคำฟ้อง ในคดีอาญาเรียกว่า ถอนฟ้อง.
ฟ้อง
หมายถึงก. กล่าวหาหรือกล่าวโทษต่อผู้ใหญ่หรือต่อศาล เช่น ฟ้องครู ฟ้องศาล, แสดงให้รู้ เช่น มีหลักฐานฟ้องอยู่ในตัว; โดยปริยายหมายความว่า ขัดกัน, ไม่ตรงกัน, เช่น ข้อความข้างต้นกับข้างปลายฟ้องกันเอง. น. คำฟ้อง.
คำฟ้อง
หมายถึง(กฎ) น. กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะเสนอต่อศาลชั้นต้นหรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้องหรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่.
รับฟ้อง
หมายถึงก. รับว่ามีหลักฐานฟ้องได้ (ใช้แก่ศาล) เช่น ศาลประทับรับฟ้อง.
สำนวน
หมายถึงน. ถ้อยคำที่เรียบเรียง, โวหาร, บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่ม ๆ ดอน ๆ; คดี เช่น ปิดสำนวน; ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง, ถ้อยคำที่แสดงออกมาเป็นข้อความพิเศษ เฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ เช่น สำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี, ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สำนวนยาขอบ สำนวนไม้ เมืองเดิม; ลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่ง ๆ เช่น อิเหนามีหลายสำนวน บทความ ๒ สำนวน.
คำฟ้องแย้ง
หมายถึง(กฎ) น. คำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์, ฟ้องแย้ง ก็ว่า เช่น ยกฟ้องแย้ง.
โจทนา
หมายถึง[โจดทะนา] น. การทักท้วง, การฟ้องหา; คำฟ้องหา. (ป., ส.).
ถ้อยคำสำนวน
หมายถึง(กฎ) น. หนังสือใด ๆ ที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่งรายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น.
กล่าวหา
หมายถึงก. ฟ้อง, กล่าวโทษ.
ค่าขึ้นศาล
หมายถึง(กฎ) น. ค่าธรรมเนียมศาลในการยื่นคำฟ้อง.
น้ำคำ
หมายถึงน. ถ้อยคำสำนวน.